fbpx

สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

ชีวิตของคน วัยทำงาน โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานอยู่หน้าคอมเป็นเวลานาน ๆ นอกจากจะใช้สายตาจ้องคอมและสมองในการคิดงานแล้ว ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมเพิ่มอีกด้วย เพราะว่าวัยทำงานที่จะต้องพบเจอกับภาวะกดดันในหลาย ๆ อย่าง รวมทั้งการนั่งทำงานเป็นเวลาหลาย ๆ ชั่วโมงต่อวัน ส่งผลทำให้ร่างกายไม่ได้เปลี่ยนอิริยาบถมากนักหรือการนั่งท่าไม่ถูกลักษณะ อาทิ เช่น การนั่งหลังงอ ไม่ได้ยืดตัวเป็นเวลานาน จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย และล้าตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจนทำให้เกิดเป็นโรคเรื้อรังได้
โรคออฟฟิศซินโดรมมักจะเกิดกับพนักงานที่ใช้เวลาทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน หรือแม้แต่การ Work From Home อยู่ที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ แต่เพราะการนั่งในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน ๆ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณหลัง, ต้นคอ, สะโพก และบริเวณไหล่ได้ ซึ่งอาการเจ็บปวดเหล่านี้มีความรุนแรงมากพอที่จะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายกายและใจ แถมยังมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอีกด้วย การป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรม จึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะต้องใส่ใจ เพราะว่ามีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพของตังพนักงานเอง รวมถึงความสำเร็จขององค์กรด้วยเช่นกัน

สัญญาณเสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรม

ถ้าหากคุณยังไม่แน่ใจว่าความไม่สบายกายและใจที่เกิดขึ้นในขณะที่นั่งทำงานอยู่เสี่ยงต่อโรคออฟฟิศซินโดรมหรือไม่ ให้คุณลองพิจารณาจากอาการดังต่อไปนี้ ถ้าหากมีตรงกับคุณหลายข้อและเกิดขึ้นเป็นประจำ นั่นแสดงว่าโรคออฟฟิศซินโดรมอาจจะกำลังเกิดขึ้นกับคุณอยู่ก็ได้

    1. ปวดที่บริเวณต้นคอ, บริเวณไหล่ และบริเวณด้านหลัง จะรู้สึกตึงและเมื่อยอยู่ตลอดเวลา
    2. มีอาการสายตาพร่ามัว เวลามองอะไรก็จะไม่ชัดเจน มีอาการเบลอไปหมด
    3. เกิดอาการชาที่บริเวณมือ และเท้าชา รู้สึกแปลบ ๆ ที่บริเวณปลายนิ้วมือ
    4. มีอาการฉี่ไม่ออก เนื่องจากว่ามีการอั้นฉี่บ่อยถึงแม้ว่าจะปวดมากแค่ไหนก็ตาม
    5.  มีอาการปวดหัวเรื้อรัง จะปวดตุบๆ ที่บริเวณขมับ

 

สรุป เมื่อคุณมีอาการตามที่ได้กล่าวมาแล้วโดยที่ไม่สามารถจะระบุตำแหน่งได้ชัดเจน ในบางรายอาจจะมีอาการปวดร้าวไปทั่ว อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรม มีความรุนแรงตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อยพอทำให้รำคาญจนถึงปวดรุนแรงทรมานเป็นอย่างมาก คุณควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ถ้าคุณไม่ทราบจะไปปรึกษาและทำการรักษาที่ไหน เราขอแนะนำที่คลินิกคุณหมอสุทธิ์ คุณหมอจะให้คำปรึกษา วินิจฉัย และทำการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม เพราะคุณหมอมีประสบการณ์ในด้านการรักษาโรคออฟฟิศซินโดรม, กระดูกทับเส้นประสาท และหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และคุณหมอยังเป็นผู้ที่เชียวชาญเฉพาะทางอีกด้วยค่ะ

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *