อาการปวดบวมที่ข้อเท้า เกิดจากหลายสาเหตุ และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ต้องเร่งหาสาเหตุและแก้ไขแบบด่วน เพื่อไม่ให้อาการรุกลามมากขึ้น เพราะเท้าเป็นอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะหากเกิดจากโรคเก๊าท์ แต่จะทราบได้อย่างไรว่าอาการปวดบวมที่ข้อเท้าที่เป็นอยู่นั้นมาจากโรคเก๊าท์หรือไม่ ลองมาดูกัน
อาการปวดข้อเท้าโรคเก๊าท์เกิดจากอะไร
อาการปวดข้อเท้าที่เกิดจากโรคเก๊าท์นั้น เป็นอาการข้ออักเสบอย่างหนึ่ง หากเป็นการอักเสบที่มาเกิดการสะสมของกรดยูริกในเลือดมากเกินไป การสะสมของยูริกต่อเนื่องเป็นเวลานานนั้น ทำให้เกิดผลึกเกาะอยู่ตามข้อต่อ ผลึกที่สะสมนั่นเองคือต้นเหตุทำให้เกิดอักเสบ บวมแดง แต่ต้องทราบก่อนว่า การเกิดขึ้นของยูริกในร่างกายเรานั้น เกิดขึ้นจาก
- ร่างกายของเราสร้างขึ้นเอง กล่าวคือ ยูริกประมาณ80 % ที่มีนั้นเกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง
- การรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เป็นอีก20 % ที่ทำให้มียูริกสะสมในร่างกายมากจนร่างกายขับออกไม่หมด ก่อให้เกิดสะสมบริเวณกระดูกและข้อต่างๆ เมื่อสะสมจนเกิดเป็นผลึกเกาะตามข้อ บวมอักเสบ เป็นเหตุของโรคเก๊าท์ดังกล่าว
อาการปวดบวมที่ข้อเท้าสงสัยว่าเป็นโรคเก๊าท์หรือไม่
หากมีอาการปวดบวมที่ข้อเท้า ต้องดูก่อนว่า มีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นหรือไม่
- เกิดอุบัติเหตุที่กระทบกับข้อเท้าก่อนหรือไม่ ถ้าใช่ก็ไม่ใช่โรคเก๊าท์
- มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ต่อเนื่องเป็นเวลานานหรือไม่ ถ้าใช่ ก็มีแนวโน้มว่า อาการปวดบวมข้อเท้านั้น อาจเกิดจากโรคเก๊าท์
- พิจารณาจากอาการปวด เพราะปวดเก๊าท์จะมีอาการคือ ปวดบวม ปวดร้อน และอักเสบจนมีสีแดง เป็นการปวดแบบฉับพลัน ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า มีอาการรุนแรง ภายใน 24 ชั่วโมง
รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูงอย่างระวัง
เพื่อป้องกันไม่ให้มีแนวโน้มเป็นโรคเก๊าท์ ควรรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูงอย่างระวัง ได้แก่ อาหารประเภทโปรตีนที่มาจากสัตว์ปีกทั้งหลาย ยอดผักที่มีพิวรีนสูง เช่น ชะอม กระถิน กระเฉด รวมถึงผักอีกหลายชนิด เช่น ถั่วงอก บล็อกเคอรี่ ต้นหอม กระหล่ำดอก กระหล่ำปลี พริกหยวก หน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน รวมถึงเครื่องดื่ม เหล้า เบียร์ และเครื่องดื่มสำเร็จรูปอื่นๆ ที่มีน้ำตาลประเภทฟลุคโตสสูง เพราะจะไปขัดขวางทำให้ร่างกายขับยูริก ออกได้น้อยลง กลายเป็นยูริกที่สะสม จนเกิดโรคเก๊าท์ในที่สุด
อาการปวดบวมที่ข้อเท้าเกิดได้จากหลายสาเหตุก็จริง แต่การปวดบวมเพราะโรคเก๊าท์ จะมีลักษณะเฉพาะ และเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทางป้องกันอย่างหนึ่งคือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนอย่างระมัดระวังนั่นเอง
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์