fbpx

สาเหตุใดบ้างที่ทำให้เกาต์กำเริบ

สาเหตุโรคเกาต์

 

            เกาต์ หรือ เก๊าท์ เป็นโรคปวดบริเวณข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่จะพบได้บ่อยที่สุดโรคหนึ่ง จัดว่าเป็นโรคของคนในวัยตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป โดยอายุ 30-60 ปี จะพบโรคข้ออักเสบนี้ได้ประมาณ 2% และอายุ 60 ปีขึ้นไป จะพบได้ประมาณ 4% สามารถสังเกตได้ว่าคนที่อายุมากขึ้นยิ่งจะมีโอกาสจะเป็นโรคข้ออักเสบก็มีมากขึ้นตามไปด้วย ส่วนใหญ่แล้วมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนผู้หญิงก็จะสามารถพบได้น้อย หรือถ้าหากพบก็มักจะพบหลังหมดประจำเดือนไปแล้ว โดยทั่วไปมักจะเกิดกับข้อเพียงข้อเดียว หรือในบางครั้งก็อาจจะเกิดขึ้นกับหลาย ๆ ข้อพร้อม ๆ กันก็ได้ แต่ข้อที่สามารถพบได้บ่อยมากที่สุดก็คือ นิ้วหัวแม่เท้า

สาเหตุของโรคเกาต์

            โรคเกาต์เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกในเลือดสูงมาเป็นเวลานานจนทำให้เกิดการตกผลึกของเกลือยูเรต ตามบริเวณส่วนต่าง ๆของเนื้อเยื่อ เช่น ตรงบริเวณข้อ จะทำให้เกิดข้ออักเสบ บริเวณไต จะทำให้เกิดนิ่วในไต และไตวายได้ ส่วนสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกที่มีในเลือดสูงนั้น ก็เนื่องมาจากที่ร่างกายสร้างกรดยูริกขึ้นมามากกว่าปริมาณที่ขับออกจากร่างกาย  นอกจากนี้การที่กรดยูริกอยู่ในเลือดสูงก็เป็นผลมาจากที่ร่างกายขาดยีนในการที่จะช่วยสลายกรดยูริกแล้ว ยังพบอีกว่าอาจจะเป็นผลมาจากอาหารที่เราทานเข้าไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกที่มีสารพิวรีนสูง และขบวนการของการสลายสารพิวรีนในร่างกาย โดยการสลายโปรตีนแต่ได้   สารพิวรีนออกมา ซึ่งกรดยูริกที่อยู่ในร่างกายส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากกระบวนการนี้  

หรืออาจจะเกิดจากการที่ร่างกายสร้างกรดยูริกเป็นปกติแต่ปริมาณในการขับออกจากร่างกายนั้นมีน้อยกว่า  กรดยูริกที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจะมีการขับออกจากร่างกายโดยการขับออกระบบทางเดินอาหาร ซึ่งจะสามารถขับออกมาได้ประมาณ 1 ใน 3 และส่วนที่เหลือจะขับออกทางปัสสาวะ ได้ประมาณ 2 ใน 3 ของปริมาณของกรดยูริกที่ร่างกายสร้างได้ในแต่ละวัน ซึ่งคนป่วยเองส่วนมากประมาณ 90% จะเกิดความผิดปกติในการขับกรดยูริกออกทางไต ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ข้ออักเสบ คือ

  1. ความผิดปกติของพันธุกรรมจากการขาดเอนไซม์บางตัว หรือว่าเอนไซม์บางตัวจะทำงานมากจนเกินไป เพราะคนป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะพบว่ามีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วย
  2. เกิดจากขบวนการขับกรดยูริกทางปัสสาวะได้น้อยลง เช่น คนที่เป็นโรคไต, ภาวะไตวาย และตะกั่วเป็นพิษ
  3. การทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เป็นเวลานาน หรือการทานอาหารที่หมักด้วยยีสต์ เป็นสาเหตุทำให้มีกรดยูริกในเลือดสูง
  4. การดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ทำให้การขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ หลังการดื่มจึงทำให้กรดยูริกคั่งอยู่ในเลือดสูงกว่าปกติ

 

 

 

ช่องทางติดต่อ

“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”

โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *