กระดูกสันหลังของเราทุกคนจะมีเนื้อเยื่อที่อยู่ระหว่างของกระดูกสันหลังทุกข้อตั้งแต่คอไปจนถึงเอว กระดูกสันหลังจะทำหน้าที่คอยรองรับแรงกระแทก และยืดหยุ่นเวลาเราเคลื่อนไหวในทิศทางต่าง ๆ ถ้าหากไม่มีหมอนรองกระดูกสันหลัง การที่จะก้ม, เงย หรือการเคลื่อนไหวหลังก็จะไม่สะดวก
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน (Lumbar Disc Herniation) คือโรคที่พบได้บ่อยกับคนที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม เพราะว่าเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้นหมอนรองกระดูกที่เป็นหนึ่งของข้อต่อของกระดูกสันหลังก็จะเริ่มเสื่อมไปตามอายุ โดยส่วนใหญ่จะเริ่มเสื่อมที่อายุประมาณ 25-30 ปี ซึ่งในบางคนเมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม ก็จะมีเนื้อเยื่อหุ้มหมอนรองกระดูกเกิดการฉีกแยกจนทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาและอาจจะไปกดทับเส้นประสาทส่วนมากแล้วจะเริ่มมีอาการปวดหลังนำมาก่อนแล้วถึงจะตามมาด้วยอาการปวดหลังร้าวลงไปที่ขา และอาจจะมีอาการชา, อ่อนแรง หรือการขับถ่ายผิดปกติร่วมด้วย โดยอาการส่วนมากมักจะสัมพันธ์กันกับการทำกิจกรรมและการใช้งานของหลังเป็นส่วนใหญ่
สาเหตุโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
-
- เกิดจากการใช้งานและการทำกิจกรรมที่ทำเป็นประจำ อย่างเช่น การยกของหนักผิดท่าบ่อย ๆ, การนั่งทำงานด้วยท่าที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน
- คนที่มีน้ำหนักตัวมากจนเกินไป
- เกิดจากการประสบอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกสันหลังเกิดการบาดเจ็บ
แนวทางในการรักษาโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
กรณีที่คนป่วยที่เป็นคนอายุน้อย ซึ่งมีการปลิ้นของหมอนรองกระดูกที่ไม่มาก ในทางการรักษาของแพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการให้ยาลดอาการปวด ซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบของเส้นประสาท และให้ทำกายภาพเพื่อที่จะให้หมอนรองกระดูกหดกลับเข้าไปได้ แต่ในกรณีที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนไปทับเส้นเกิดกับคนที่อายุมาก ๆ ก็จะมีความเสื่อมเกิดขึ้นค่อนข้างมาก การให้ทำกายภาพเพื่อที่จะดึงหมอนรองกระดูกให้หดกลับเข้าไป หรือให้ยาเพื่อลดอาการปวดอาจจะส่งผลในทางรักษาให้ดีขึ้นได้ค่อนข้างน้อย เมื่อคนป่วยมีอาการตามที่ได้กล่าวมาแพทย์จะซักประวัติ ถึงระดับความอาการปวด เมื่อทานยาแล้วอาการดีขึ้น หรือไม่ ถ้าอาการดีขึ้นแพทย์ก็ไม่จำเป็นต้องทำการผ่าตัด แต่ถ้าทานยาแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จนทำให้รู้สึกรำคาญกับอาการปวด หรืออาจจะปวดมากก็จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัด เพื่อนำหมอนรองกระดูกออก การผ่าตัดมี 2 วิธี คือ
-
- วิธีที่ 1 คือ การผ่าตัดแบบแผลเปิด โดยแผลจะมีขนาดประมาณ 3.5 เซนติเมตร
- วิธีที่ 2 คือ การผ่าตัดส่องกล้อง ในกรณีนี้เป็นทางเลือกหนึ่งที่คนป่วยมีหมอนรองกระดูกปลิ้นออกมาแล้วอยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถใช้กล้องส่องเข้าไปเพื่อคีบออกมาได้ ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยทำให้แผลมีขนาดเล็กลงเหลือประมาณ 1 เซนติเมตร
การผ่าตัดทั้ง 2 วิธีนี้มีอัตราในความสำเร็จค่อนข้างที่จะใกล้เคียงกัน แต่จุดที่แตกต่างกันอยู่ที่รูปแบบของการผ่าตัด ผ่าตัดแบบเปิด แพทย์จะต้องเลาะบริเวณกล้ามเนื้อของกระดูก และทำการตัดกระดูกออกไปส่วนหนึ่ง เพื่อให้สามารถนำเครื่องมือเข้าไปให้ถึงหมอนรองกระดูก แต่สำหรับการผ่าตัดส่องกล้องไม่จำเป็นจะต้องเลาะบริเวณกล้ามเนื้อออก เพียงแค่ใช้วิธีการขยายกล้ามเนื้อแล้วสอดกล้องเข้าไปที่หมอนรองกระดูกได้เลย หลังจากนั้น จึงคีบเอาส่วนที่มีการอักเสบ หรือปลิ้นออก ส่งผลให้การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อน้อยลง และสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์