fbpx

กล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากอะไร

กล้ามเนื้ออักเสบ

กล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากอะไร ?

กล้ามเนื้ออักเสบ (Myositis) กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นจากการใช้งานร่างกายอย่างหนัก จึงทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าทำให้เกิดการอักเสบ ส่วนมากจะแสดงอาการในลักษณะของการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และเป็นเพียงอาการเริ่มต้นของการอักเสบเท่านั้น อาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกอิริยาบถ เช่น การทำงานที่ใช้แรงมากเกินไป, การเดิน การยืน และการนั่ง กล้ามเนื้ออักเสบมักจะเกิดขึ้นกับอาการเจ็บและบวมที่กล้ามเนื้อ โดยอาจเกิดขึ้นในระยะสั้น ๆ หรือเป็นอาการเรื้อรัง จากการได้รับบาดเจ็บ เราสามารถสังเกตได้เองจากกล้ามเนื้อตึงหลังจากการออกกำลังกาย หรือ จาการทำงานหนก ซึ่งการปวดเมื่อยและความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นมักจะค่อย ๆ มีอาการแย่ลงเมื่อปล่อยผ่านไปหลายสัปดาห์จะส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ทั้งหลาย เช่น คอ หัวไหล่ หลัง ขา และสะโพก ปวดกล้ามเนื้อ ส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับอุบัติเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อตึง หรือเป็นอาการจากโรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ที่ก่อนจะเป็นไข้หวัดใหญ่จะมีอาการครั่นเนื้อครั่นทุกครั้ง และโรคแพ้ภูมิคุ้มกันตนเอง หรือเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
ทุกกลุ่มและทุกวัยมีความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบได้เช่นกัน ไม่ใช่แค่กลุ่มที่ชอบออกกำลังกาย และกลุ่มคนทำงานที่ต้องยกของหนัก เป็นต้น

สาเหตุการเกิดกล้ามเนื้ออักเสบ
สาเหตุที่กล้ามเนื้ออักเสบเกิดมาจากพฤติกรรมการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเรา ทำให้เกิดการกระทบ หรือแรงกระแทกกับสิ่งของส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บและฟกช้ำ เช่น

    • ภาวะร่างกายเกิดการติดเชื้อที่เป็นต้นเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้ออักเสบส่วนมากมักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น เชื้อไวรัสโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่ และเชื้อไวรัสเอชไอวี
    • การเล่นกีฬาประเภทฟุตบอลเกิดจากแรงปะทะของนักฟุตบอลที่คู่แข่งยกเท้ามายันที่ต้นขาอย่างแรง จึงทำให้กล้ามเนื้อต้นขาเกิดการฟกช้ำ
    • การใส่รองเท้าสั้นสูงเดินเร็วหรือวิ่งทำให้กล้ามเนื้อตึงเครียดสะสมเป็นเวลานานทำให้เกิดการปวดเมื่อยส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้
    • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ก็เป็นต้นเหตุทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออักเสบอ่อน ๆ แต่ไม่รุนแรงได้เช่นกัน
    • เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบชนิดฉับพลัน เริ่มจากสภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
    • การออกกำลังกายแบบการยกน้ำหนัก หรือยกเวท ที่เรียกน้ำหนักมากเกินไป เป็นต้น
      ทั้งนี้กล้ามเนื้ออักเสบก็เกิดจากผลข้างเคียงของการใช้ยาในการรักษาอาจจะเกิดขึ้นทันทีหลังจากเริ่ม กินยา หรือเกิดขึ้นตามมาในภายหลังเมื่อกินยาเป็นเวลานานหลายเดือน หรือเป็นปีก็เป็นได้ และบางครั้งก็อาจเป็นผลจากยา 2 ชนิดที่กินเข้าไปแล้วทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อกัน แต่อย่างไรก็ตาม กล้ามเนื้ออักเสบจากการใช้ยานี้มักพบได้น้อย

ลักษณะของอาการกล้ามเนื้ออักเสบ
กล้ามเนื้ออักเสบไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับส่วนไหนของร่างกายก็จะส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อ หากปล่อยไว้ไม่รักษาจะทำให้การอักเสบของกล้ามเนื้อที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาในระยะยาวรุนแรงมากขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่จะพบว่าการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน, การออกกำลังกายที่ผิดวิธี หรือเกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อซ้ำๆ ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อนำไปสู่การอักเสบที่รุนแรง

การรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้น
         การรักษากล้ามเนื้ออักเสบเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการหรือปวดไม่มาก สามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยการหยุดพักกิจกรรมหรืองานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดบวม และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นด้วยตนเอง

    • โดยวิธีประคบด้วยความร้อนตรงบริเวณที่กล้ามเนื้ออักเสบ
    • ฝึกการเหยียดยืดกล้ามเนื้อบริเวณลำตัว โดยการประสานมือเข้าด้วยกันแล้วยืดมือออกไปด้านหน้า จากนั้นค่อยยกขึ้นด้านบน โยกไปด้านซ้ายและขวา
    • ทานยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้อักเสบ ที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (ตามคำแนะนำของเภสัชกร)
    • ทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อป้องกันการหดรั้งของกล้ามเนื้อและป้องกันข้อยึดติด
    • ถ้าหากอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อน และเสียชีวิตได้

วิธีการรักษาอาการกล้ามเนื้ออักเสบทางการแพทย์
ทั้งนี้การรักษาทางการแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยมีการอักเสบรุนแรงแค่ไหนและดุลพินิจของแพทย์ที่รักษา เช่น

    • รักษาโดยการฉีดยา แต่ขึ้นอยู่กับว่ากล้ามเนื้ออักเสบเกิดมาจากสาเหตุอะไร อาทิ เช่น เกิดจากยา, โรคแพ้ภูมิคุ้มกัน เป็นต้น
    • ให้ทำกายภาพบำบัด เพื่อเป็นการยืดกล้ามเนื้อและการเล่นโยคะ ก็ช่วยได้เช่นกัน
    • หากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้น อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัด
      การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออักเสบ
      กล้ามเนื้ออักเสบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และหลายชนิด ไม่สามารภระบุได้ว่าสาเหตุหลัก ๆ ของกล้ามเนื้ออักเสบเกิดจากสาเหตุอะไร แต่เราสามารถป้องกันได้ไม่มากก็น้อย เช่น
    • การรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี เพราะไข้หวัดใหญ่ก็เป็นสาเหตุทำให้กล้ามเนื้อ
      อักเสบได้
    • ห้ามฉีดสารเสพติดเข้ากับเส้นเลือดหรือเข้ากล้ามเนื้อเด็ดขาด ส่วนยารักษาโรคที่จำเป็นต้องใช้การฉีด
      ก่อนจะทำการฉีดควรทำความสะอาดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาดเพื่อไม่ให้เชื้อโรคติดเข้าไปกับปลายเข็มฉีดยา
    • หากจำเป็นที่จะต้องใช้ยาที่อาจจะทำให้กล้ามเนื้ออักเสบได้ ควรใช้ในปริมาณตามที่แพทย์จะอนุญาต
      ให้ใช้ได้ รวมทั้งควรตรวจเลือดเพื่อดูว่ายาที่ใช้มีผลทำให้กล้ามเนื้อได้รับบาดเจ็บหรือไม่
    • ออกกำลังกายแต่พอดี อย่าหักโหม เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ