โรคเส้นเอ็น

         เพราะ “เส้นเอ็น” อยู่ทั่วทั้งร่ายกายมนุษย์ ในตลอดทั้งวันเราใช้เส้นเอ็นในส่วนต่างๆ ของร่ายกายตลอดทั้งวัน หลายคนที่การกระทบกระแทกหรือการใช้งานหนักก็สามารถสร้างความเสียหายและอักเสบให้กับเส้นเอ็นของเราได้เช่นกัน ซึ่งตำแหน่งที่มักจะเกิดอาการเส้นเอ็นอักเสบได้บ่อย ได้แก่ ข้อมือ, หัวเข่า, หัวไหล่ เป็นต้น โดยหากเกิดความเสียหายและมีการอักเสบของเส้นเอ็นจะทำให้อวัยวะนั้นขยับและทำงานได้ลำบาก เพราะเส้นเอ็นมีหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างกล้ามเนื้อและกระดูก เมื่อมีปัญหาจึงทำให้มีอาการปวดและขยับไม่ได้

ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโรคเส้นเอ็น

ลักษณะอาการของโรคเส้นเอ็น

         เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้ทั่วไปทุกเพศทุกวัย สำหรับโรคเส้นเอ็น เพราะเอ็นกล้ามเนื้อในทุกๆ แห่งทั่วร่างกายสามารถเกิดการอักเสบ ฉีกขาดได้ทั้งนั้นหากได้รับอุบัติเหตุหรือใช้งานหนักมากเกิดไป ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อมักจะมีอาการดังนี้ ปวดข้อต่อเมื่อเคลื่อนไหวหรือไม่ได้เคลื่อนไหว, ใช้งานได้ลำบากในอวัยวะนั้นหรือเคลื่อนไหวได้ลำบากและมีอาการเก็บ , ฟกช้ำ บวมแดง ในบางคนจะรู้สึกอุ่นๆ ในบริเวณที่มีอาการ, มีก้อนบวมนูนขึ้นมาตามเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณที่เสียหาย โดยในกรณีที่อาการรุนแรงมากอย่างเส้นเอ็นฉีดขาดผู้ป่วยจะปวดเป็นอย่างมากจนไม่สามารถทนได้ แต่หากแค่อักเสบอาจจะยังปวดไม่มาก

สาเหตุของโรคเส้นเอ็น


         การเกิดโรคเส้นเอ็นสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการประสบอุบัติเหตุหรือการได้รับบาดเจ็บแบบฉับพลัน โดยส่วนใหญ่มักจะมีสาเหตุดังต่อไปนี้
การทำงานที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายในบางส่วนซ้ำๆ เป็นเวลานาน หรือยกของหนักแล้วเคลื่อนไหวผิดท่าจนเส้นเอ็นได้รับความเสียหาย

    • ทำกิจกรรมกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวซ้ำๆ อาทิ ตีกอล์ฟ เล่นเทนนิส เป็นต้น ซึ่งหากออกกำลังกายด้วยกีฬาที่เคลื่อนไหวเดิมๆ ซ้ำๆ ตลอด ควรมีเทคนิคการป้องกันกล้ามเนื้อที่เหมาะสมหรือควรปรึกษาแพทย์หากมีอาการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย
    • การบาดเจ็บหรือการประสมอุบัติเหตุ การกระแทก ใช้งานหนัก
    • ผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มคนที่เสี่ยงภาวะเส้นเอ็นอักเสบได้ง่าย เพราะกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นถูกใช้งานมาเป็นเวลานานความยืดหยุ่นจะน้อยลงตามธรรมชาติ
    • เป็นผลพ่วงจากโรคอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

การรักษาโรคเส้นเอ็น

     แพทย์จะทำการตรวจดูบริเวณที่มีอาการ ซักประวัติและตรวจระบบกระดูกและข้อต่อทั่งร่างกาย แต่สำหรับผู้ที่โรคเส้นเอ็นเกิดจากการเป็นโรครูมาตอยด์ แพทย์จะตรวจเลือดด้วย ซึ่งการรักษาในเบื้องต้นหากมีอาการเจ็บที่เส้นเอ็นคนไข้ต้องหยุดการใช้งานเส้นเอ็นบริเวณนั้น แล้วปฏิบัติดังต่อไปนี้

    • ใช้ผ้าพักแผลพันให้รอบบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อช่วยพยุงและไม่ให้บริเวณข้อต่อและเส้นเอ็นต้องเคลื่อนไหวบ่อยๆ
    • ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งหรืออุปกรณ์ประคบเย็นประมาณ 20 นาที โดยสามารถทำได้ทุก 2-3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงหลังได้รับการบาดเจ็บ หลังจาก 24 ชั่วโมงควรประคบร้อนเท่านั้น
    • ยกร่างกายส่วนที่ได้รับการบาดเจ็บให้สูงไว้ หรือใช้หมอนหนุนเอาไว้
    • ใน 2-3 วันแรก ที่ยังมีอาการปวดเจ็บอยู่ให้หลีกเลี่ยงความร้อน น้ำอุ่น หรือการประคบอุ่น รวมทั้งงดการนวดบริเวณดังกล่าวโดยเด็ดขาด
    • งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    • รับประทานยาแก้ปวดหรือทายาที่บรรเทาอาการอักเสบได้ แต่หากอาการไม่หายภายใน 2-3 วัน ให้ไปพบแพทย์
    • เมื่อรู้สึกว่าเคลื่อนไหวแล้วไม่เจ็บ ให้พยายามเคลื่อนไหวบ่อยๆ เพื่อป้องกันการฝืดติดของเอ็น

การป้องกันโรคเส้นเอ็น


         เพราะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นมักเกิดขึ้นจากพฤติกรรมในแต่ละวันของตัวเราเอง ดังนั้นเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับเส้นเอ็นควรระมัดระวังดังต่อไปนี้

    • เมื่อมีกิจกรรมที่ต้องส่งผลต่อเอ็นกล้ามเนื้อ อย่างเช่นการออกกำลังกายซ้ำๆ การทำงานซ้ำๆ ด้วยอวัยวะเดิมเป็นเวลานาน ให้หยุดพักการใช้งานเป็นระยะและหากรู้สึกเจ็บควรพักการทำกิจกรรมเหล่านั้นไปก่อน
    • ในผู้ที่เพิ่งเริ่มออกกำลังกายไม่ควรหักโหมเกินไป เพราะร่างกาย กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นยังไม่ชิน ต้องออกกำลังกายเบาๆ ก่อนใน 2-3 วันแรก
    • การออกกำลังกายต้องสลับชนิดอยู่เป็นประจำ ให้กล้ามเนื้อได้ใช้งานทั้งร่ายกาย อย่าให้กล้ามเนื้อต้องใช้งานซ้ำๆ เฉพาะส่วน เพราะจะทำเกิดการบาดเจ็บได้
    •  ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการออกกำลังกายเพื่อให้มีเทคนิคและท่าทางการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เพราะหากท่าผิดหรือใช้อุปกรณ์ผิดอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บรุนแรงได้
    • ก่อนและหลังออกกำลังกายทุกครั้งต้องอบอุ่นร่างกายให้พร้อม เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวและพร้อมที่จะออกกำลังกาย
    • ในผู้ที่นั่งทำงานตลอดทั้งวัน ต้องปรับตำแหน่งความสูงของเก้าอี้ คีย์บอร์ด หน้าจอคอม และพนักพิงให้มีความสูงต่ำที่เหมาะสม เพราะหากตำแหน่งต่ำหรือสูงเกินไปจะทำให้ร่างกายและเส้นเอ็นต่างๆ ยิ่งทำงานหนักและมีอาการปวดสะสมได้

         เพราะเส้นเอ็นเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายที่สำคัญและอยู่ทั่งทุกบริเวณในร่างกาย หากได้รับความเสียหายก็มักจะส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันและการทำงานของคุณเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการอักเสบ บาดเจ็บ และโรคทางเส้นเอ็น เราจึงควรระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งทั้งการออกกำลังกายและการทำงาน แต่หากพบว่ามีอาการปวดเส้นเอ็นหรือกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ควรรีบพักการใช้อวัยวะนั้น เพื่อลดอาการอักเสบบาดเจ็บ แต่หากยังไม่หายภายใน 2-3 วันควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและวิธีการรักษาที่ถูกต้องปลอดภัยต่อไป