โรคเกาต์บางครั้งหลาย ๆ คนก็คงคิดว่าเป็นโรคที่ตกยุคไปแล้วหรือไม่ก็ ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วมันสามารถที่จะกระจายตัวกันออกไปและยังทำให้เกิดความเจ็บปวดได้อย่างแสนสาหัส ถ้าหากว่าเรายังเพิกเฉยไม่รีบไปรับการรักษา สาเหตุโดยตรงของการเกิดโรคเกาต์ คือการที่มีกรดยูริกอยู่ในเลือดสูง นอกจากจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคเกาต์,โรคนิ่ว และโรคไตอักเสบแล้ว อาจจะส่งผลต่อคนป่วยที่มีปัญหาหูอื้อ, เสียงดังในหู และบ้านหมุนได้
โดยอาจจะทำให้เส้นเลือดหดตัว, เลือดไปเลี้ยงประสาทหู และอวัยวะที่ทรงตัวได้น้อย จึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินและการทรงตัว โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของคนเรานั้นสามารถสร้างและจัดการกับกรดยูริกได้โดยใช้สารประกอบที่หลากหลายชนิด แม้แต่การควบคุมอาหารที่เราทานสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์ได้ผลดีที่สุด หรือป้องกันไม่ให้โรคเกาต์นั้นไปสร้างความเจ็บปวดหรือทำให้เกิดขึ้นได้บ่อย การลดน้ำหนักหรือว่าการใช้ยารักษาก็เป็นทางเลือกเพิ่มเติมที่แพทย์มักจะแนะนำให้ทำควบคู่กันไปกับการควบคุมอาหาร
โรคเกาต์มีอาการหลากหลายรูปแบบ ก็คือ ตรงบริเวณข้อเกิดการอักเสบ มักจะมีอาการอย่างเฉียบพลัน อาการเริ่มแรกมักเป็นเพียงข้อเดียว โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนข้อนิ้วหัวแม่เท้า, บริเวณข้อเท้า หรือบริเวณข้อเข่า โดยจะแสดงอาการปวด, บวมแดง, ร้อน และจะเกิดอาการเจ็บเมื่อกดตรงข้อ รวมทั้งอาจจะมีไข้ร่วมด้วย ในบางรายอาจจะพบก้อนโทฟัส ซึ่งจะเกิดมาจากการสะสมของผลึกเกลือยูเรตในเนื้อเยื่ออ่อน, ข้อต่อ, กระดูก และกระดูกอ่อน มักจะพบตรงบริเวณศอก, ตาตุ่ม, นิ้วมือ และนิ้วเท้า ส่วนนิ่วในทางเดินปัสสาวะ จะตรวจพบประมาณร้อยละ 10-25 ของคนป่วยโรคเกาต์ และเราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเกาต์ได้ถ้าหากเราปฏิบัติตามวิธีการดังต่อไปนี้
วิธีการหลีกเลี่ยงโรคเกาต์
แนะนำให้งดทานอาหารดังต่อไปนี้
- ทานเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ,ตับอ่อน,ไส้,ม้าม,หัวใจ,สมอง,กึ๋น และเซ่งจี๊
- น้ำเกรวี, กะปิ และยีสต์
- ปลาดุก, กุ้ง, หอย, ปลาอินทรีย์, ปลาไส้ตัน, ปลาซาร์ดีน และไข่ปลา
- ชะอม, กระถิน และเห็ด
- ถั่วแดง, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง และถั่วดำ
- สัตว์ปีก เช่น เป็ด, ไก่ และห่าน
ดังนั้น การหลีกเลี่ยงโรคเกาต์ เราจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องของการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง ถ้าหากไม่สามารถงดอาหารเหล่านี้ได้ก็ควรเลือกทานในปริมาณที่น้อย