โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบ ที่ทำให้คนไข้มีอาการเจ็บปวดเรื้อรัง เป็นโรคที่มีมานานแล้ว และผู้คนก็เจ็บป่วยด้วยโรคนี้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากการรับประทานอาหารที่เกินพอดี อาหารหลายชนิด ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคได้มากขึ้น เช่นอาหารที่มีสารพิวรีน พืชผัก ผลไม้บางชนิด และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหารที่มีความเสี่ยงเหล่านี้มากขึ้น จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างกรดยูริค ทำให้เกิดภาวะกรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติ
หากปล่อยให้กรดยูริคในเลือดสูงเกินปกติเป็นเวลานาน ต่อเนื่อง ก็จะกลายเป็นโรคเก๊าท์ ซึ่งโรคนี้เป็นในเพศชายวัยกลางคน และเพศหญิงเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน เป็นส่วนมาก โรคเก๊าท์นั้น นอกจากจะทำให้ผู้ป่วยปวดทรมาณ เมื่ออาการกำเริบแล้ว ยังทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมาอีก ทั้งข้ออักเสบ โรคผิวหนัง และโรคไต
หากเป็นโรคเก๊าท์แล้ว ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ นับตั้งแต่ข้ออักเสบ ข้อพิการผิดรูป เกิดก้อนที่ผิวหนัง เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ ไปจนถึงโรคไตวายเรืองรังเลยทีเดียว ดังนั้น ผู้ป่วยโรคนี้ จึงต้องดูแลตนเอง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนี้
ต้องทราบว่า อะไรบ้างที่อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคเก๊าท์ และโรคเก๊าท์กำเริบ ซึ่งได้แก่
- การมีน้ำหนักมากเกินไป เป็นโรคอ้วน
- มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน มีปัญหาระบบการเผาผลาญอาหาร และภาวะการทำงานของไตไม่ปกติ
- รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ
- รับประทานอาหารและดื่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟลุ๊กโตสสูง
- รับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่นเครื่องใน เนื้อแดง สัตว์ปีก อาหารทะเลบางชนิด เช่น แองโชวี่ ซาดีน หอยแมลงภู่ หอยเชลล์ ปลาเท้า ทูน่า
เมื่อรู้ตัวว่าเป็นโรคเก๊าท์จะต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์ เพื่อควบคุมอาการโดยมีแนวทางในการรักษาคร่าว ๆ ดังนี้
- ให้การรักษาเมื่ออาการกำเริบ ลดความเจ็บปวด ซึ่งจะเป็นการรักษาด้วยยาทั้งยาบรรเทาอาการปวด และลดการอักเสบ
- ป้องกันไม่ให้โรคกำเริบ โดยแพทย์จะแนะนำให้ปรับวิถีการดำเนินชิวิต อาจจะมีการแนะนำให้ลดน้ำหนัก หากจำเป็น จำกัดการดื่มแอลกอฮอลล์ จำกัดการรับประทานอาหารที่มีพิวรีนสูง เปลี่ยนหรือปรับยาประจำตัวบางชนิด
- ป้องกันไม่ให้เกิดการก่อตัวของก่อนผลึก และนิ่วในไต ซึ่งอาจจะเป็นการควบคุมด้วยการจำกัดการรับประทานอาหารบางชนิด หรือบางกรณีก็ต้องใช้ยา
การปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิตบางอย่าง ก็ช่วยควบคุมโรคได้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกำเริบ และพัฒนารุนแรงไปจนถึงขั้นไตวาย ดังนี้
- เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างเหมาะสม ดังที่ได้ระบุไปแล้ว คือจำกัดอาการที่มีพิวรีน และลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ทำให้ร่างกายมีความกระปรี่กระเปร่า ออกกำลังกายพอสมควร ทำให้ร่างกายกระฉับกระเฉง เช่น การเดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ วันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน เป็นต้น
- เข้าร่วมกลุ่มสัมมนา หรือเปิดรับข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลรักษาอาการของโรคเก๊าท์
การมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การเข้ารับการรักษาจากแพทย์ และการดูแลตนเอง ถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ในการที่จะควมคุม ไม่ให้เกิดอาการกำเริบ และไม่ให้โรคพัฒนารุนแรงจนส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะไตด้วย