โรคเกาต์ เป็นหนึ่งในโรคกระดูก และโรคข้ออักเสบที่พบบ่อยกับผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดมาจากการที่กินโปรตีนบางชนิดมากจนเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายไปเป็นกรดยูริกและไปตกตะกอนบริเวณข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันการเกิดโรคเกาต์คนป่วยมักจะมีระดับของกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าหากว่าระดับของกรดยูริกยิ่งสูง อัตราของการเกิดโรคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในผู้ชายจะพบโรคนี้ได้มากกว่าผู้หญิงอยู่ประมาณ 10 เท่า แต่หลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว ผู้หญิงจะพบโรคเกาต์สูงขึ้นถ้าเทียบกับผู้ชาย
ข้อที่ควรระวังโรคเกาต์ในผู้สูงอายุ
โรคเกาต์ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้เต็มร้อย เนื่องจากผลึกยูเรตมีการสะสมทีละนิดในข้อต่อและเนื้อเยื่อบริเวณรอบ ๆ มาเป็นเวลานานหลายปี จึงทำให้ไม่สามารถรู้ได้เลยว่ากรดยูริกที่มีในเลือดอยู่มีมากน้อยแค่ไหนจนกว่าอาการของโรคจะแสดงออกมา และสาเหตุที่ทำให้กรดยูริกมีเพิ่มขึ้นก็มาจากหลายสาเหตุและยังไม่สามรถสรุปได้ชัดเจน ข้อควรระวัง จึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเดียวกับการปฏิบัติตัวของคนป่วยที่เป็นโรคเกาต์ เพื่อจะได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคเกาต์ลง เช่น
- ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง โดยเฉพาะ พวกอาหารทะเล แต่สามารถทานอาหารที่มีพวกสารพิวรีนต่ำได้โดยไม่จำกัด เช่น นม ไข่ ธัญพืช ต่าง ๆ ผักสดต่าง ๆ และผลไม้
- ต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อช่วยทำให้ร่างกายได้ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ และจะไม่ทำให้เกิดการตกตะกอนในระบบทางเดินปัสสาวะที่อาจจะนำไปสู่การเป็นนิ่วในไต
- ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานต้องลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน แต่ห้ามอดอาหารหรือว่าลดน้ำหนักอย่างหักโหม ต้องค่อย ๆ ลดลงจะเป็นการดีต่อสุขภาพที่สุด
- ควรงดดื่มน้ำอัดลม หรือเครื่องดื่มที่ให้ความหวานมากเกินไป
- งดกินถั่วต่างๆ เช่น ถั่วแดง ถั่วแระ ถัวเขียว ถั่วเหลือง
- ผักบางชนิดที่ห้ามกิน กระถิน ชะอม เห็ด ขี้เหล็ก หน่อไม้ ดอกกะหล่ำ ผักขม ผักปัง
- ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง ข้าวสาลีที่ไม่สีเอารำออก เป็นต้น
ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารตามที่ได้กล่าวมาแล้วทั้งหมด และให้พักผ่อนมาก ๆ ห้ามใช้กำลังข้อในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเป็นการป้องกันข้ออักเสบ ให้ดื่มน้ำไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 แก้ว เพื่อช่วยให้ขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ ต้องทานยาเป็นประจำห้ามขาดเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้อาการของโรคเกาต์กำเริบขึ้นมาอีก ต้องปฏิบัติร่วมกับการกินยาที่ช่วยลดระดับของกรดยูริกในเลือดให้ต่ำลงมาก ๆ และต้องนานพอที่จะไปช่วยสลายผลึกยูเรตที่สะสมอยู่ในร่างกายของคนป่วยให้ค่อย ๆ หมดไป เมื่อผลึกยูเรตถูกทำให้ละลายหมดแล้ว คนป่วยก็จะหายขาดจากโรคเกาต์ได้