โรคเก๊าท์ เมื่อเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายขาดได้ไหม? เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้ เพราะภาพลักษณ์ของโรคนี้ คือ ใครเป็นแล้วจะต้องทุกข์ทรมาน ต้องอยู่กับอาการปวดๆ หายๆ ไปตลอดชีวิต แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีด้านการแพทย์พัฒนาไปไกลมากแล้ว สามารถครอบคลุมถึงการรักษาโรคเก๊าท์หรือไม่ มาดูกัน
ระยะของโรคเก๊าท์
อาการของโรคเก๊าท์นั้น แม้ว่ากว่าจะรู้จะมีอาการปวดข้อแบบฉับพลัน แต่อาการโดยรวมก็ยังมีระยะเติบโตของโรค ซึ่งแบ่งเป็นระยะ ดังนี้
- ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่ไม่มีอาการแสดงให้เห็น ต้องตรวจเลือดเท่านั้น จึงจะรู้ว่ามีกรดยูริคในเลือดสูงเกินมาตรฐานแล้ว นั่นคือเบื้องต้นของโรคเก๊าท์ ซึ่งโอกาสมักเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
- ระยะที่ 2 เริ่มเห็นอาการโรคเก๊าท์แสดงออกชัดเจน เพราะข้อจะบวมและปวดรุนแรงจากการอักเสบเฉียบพลัน ในระยะนี้ สามารถรักษาให้หายสนิทได้ ใช้เวลาเพียง 1-3 วันเท่านั้น แม้ปล่อยให้หายเองก็เป็นได้เช่นกัน แต่ต้องรอถึง 4-6 วัน
- ระยะที่ 3 คือ แม้เคยรักษาโรคเก๊าท์หายแล้ว แต่ไม่ได้หายขาด มีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก บางคนเป็นๆ หายๆ อาจมีอาการกำเริบทุกปี ปีละครั้งหรือสองครั้ง และอาจมีอาการกลับมาถี่มากขึ้น เป็นปีละ 4-5 ครั้ง
- ระยะที่ 4 เป็นระยะอักเสบเรื้อรัง หากไม่มีการดูแลตัวเองอย่างดี ปล่อยให้โรคกลับมาและอักเสบบ่อยจนเรื้อรัง ไม่มีช่วงไหนที่โรคหายเลย หากปล่อยจนเป็นขนาดนี้ อาการของโรคจะทำให้อวัยวะผิดรูปไป เพราะยูริคที่สะสมตามข้อทำให้มีอาการปูดออกมา
- ระยะที่ 5 มีโรคแทรกซ้อน เช่น ไตวาย ซึ่งหากปล่อยให้ถึงระยะนี้ โรคเก๊าท์จะมีอาการรุนแรงมาก ยากที่จะรักษาได้หาย
โรคเก๊าท์รักษาให้หายขาดได้ไหม
แนวทางการรักษาโรคเก๊าท์มีดังนี้
- ใช้ยารักษาตามอาการถ้าเพิ่งเริ่มเป็น โรคเก๊าท์รักษาได้ด้วยการกินยา เช่น ยาลดอาการอักเสบ ยาลดกรดยูริค และควบคุมไม่ให้มียูริคในเลือดเพิ่มขึ้น
- ควบคุมโรคเก๊าท์ไม่ให้เป็นมากขึ้นด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกาย เพื่อไม่ให้โรคกำเริบขึ้นอีก เนื่องจากอาหารใหม่ไม่ไปเพิ่มกรดยูริค
- การดูแลรักษากับแพทย์เฉพาะทาง จะสามารถควบคุมและทำให้หายขาดได้ เพราะโรคจะไม่ลุกลาม จนมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้รักษายากหรือรักษาให้หายขาดไม่ได้
ในปัจจุบัน แพทย์เฉพาะทางยืนยันว่า โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หายได้ 100% ยิ่งรักษาตั้งแต่เริ่มเป็น ยิ่งมีโอกาสหายขาด ยิ่งปล่อยไว้นาน ยิ่งรักษายากและต้องใช้เวลานาน สิ่งที่ดีที่สุดคือ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคด้วยการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้เป็นโรคเก๊าท์ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีสารพิวรีนที่ไปกระตุ้นให้มีกรดยูริคสะสมมากเกินไปดีที่สุด
ช่องทางติดต่อ
“คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์”
โทร : 061-010-6396
LINE : @drsuttclinic (อย่าลืมใส่ @)
Facebook : คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์