โรคนิ้วล็อค
โรคนิ้วล็อคเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในสังคมปัจจุบัน สำหรับ โรคนิ้วล็อค เพราะโดยปกติแล้วนิ้วมือของเราจะสามารถเหยียดและง้อได้อย่างอิสระ แต่หากมีอาการนิ้วล็อคเกิดขึ้นก็ทำให้ไม่สามารถงอหรือเหยียดนิ้วได้ตามปกติ ซึ่งเป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับปลอกเอ็นที่นิ้วมือเรา สาเหตุมักจะเกิดจากการใช้งานหรือเกร็งนิ้วในรูปแบบซ้ำๆ นานเกินไป อาทิเช่นการเล่นเกมหรือใช้สมารท์โฟนเป็นเวลานานๆ นั้นเอง
ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับโรคนิ้วล็อคลักษณะของโรคนิ้วล็อค
การที่นิ้วของเราจะเคลื่อนไหวงอและเหยียดได้ตามปกตินั้น เส้นเอ็นมีหน้าที่หลักในการทำงานของนิ้ว แต่นอกจากเส้นเอ็นแล้วยังมีปลอกเส้นเอ็นที่ช่วยยึดให้นิ้วขยับและเหยียดงอได้ตามปกติด้วย ซึ่งเมื่อมีอาการของโรคนิ้วล็อค ปลอกเส้นเอ็นจะเกิดการอักเสบ ตีบแคบลง เมื่อเคลื่อนไหวจะเสียดสี ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ มีอาการล็อคเกร็ง โดยโรคนิ้วล็อคนี้ส่วนใหญ่พบมาในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี โดยเฉพาะในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและโรครูมาตอยด์ รวมทั้งผู้สูงอายุก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มากเพราะมีการใช้งานนิ้วสะสมมาเป็นเวลานาน
สาเหตุโรคนิ้วล็อค
อาการโรคนิ้วล็อคสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุใกล้ตัว แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการใช้งานนิ้วที่หนัก เกร็งหรือกำแรง ซ้ำๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เอ็นไปกดตรงช่วงปลอกหุ้มเอ็นมากจนเกินไป จนทำให้เกิดอักเสบ บวมตีบแคบ อาทิ แม่บ้านที่ใช้นิ้วบิดผ้า ซ้ำๆ ในท่าเดิมนานๆ , คนงานที่ใช้มือจับเกร็งกรรไกรตัดแต่งกิ่งเป็นเวลานาน เป็นต้น นอกจากนี้ยังผลพ่วงจากโรคประจำตัวอย่าง โรคเบาหวาน ได้อีกด้วย
อาการโรคนิ้วล็อค
ลักษณะอาการของโรคนิ้วล็อตสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระยะ ดังต่อไปนี้
-
- ระยะที่ 1 มีอาการปวดบริเวณโคนนิ้ว เจ็บฝ่ามือ แต่ยังสามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ
- ระยะที่ 2 มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้น เวลาเหยียดนิ้วหรืองอนิ้วเริ่มมีอาการสะดุดจนสามารถรู้สึกได้
- ระยะที่ 3 มีอาการนิ้วล็อค โดยเมื่องอนิ้วแล้งจะไม่สามารถเหยียดนิ้วได้ ต้องใช้มืออีกข้างช่วยแกะ ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่รักษาอาการจะเพิ่มมากขึ้นจนไม่สามารถงอนิ้วลงได้
- ระยะที่ 4 มีอาการอักเสบและบวม จนทำให้เหมือนนิ้วงออยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถเหยียดนิ้วให้ตรงได้ตามปกติ ซึ่งหากใช้มืออีกข้างช่วยคลายนิ้วก็จะยิ่งปวดมาก บางรายจะไม่สามารถงอนิ้วหรือกำมือได้
การรักษาโรคนิ้วล็อค
เพราะอาการนิ้วล็อคเกิดจากการที่คนไข้ใช้งานเส้นเอ็นมากเกินไป ความเชื่อผิดที่ว่าหากมีอาการนิ้วล็อคให้กำลูกบอลลูกแก้วจึงเป็นเรื่องที่ผิด เพราะหากยิ่งไปกำลังบอลก็จะยิ่งใช้งานเส้นเอ็นมากขึ้น อาการนิ้วล็อคก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่การรักษาอาการนิ้วล็อค สามารถรักษาได้ดังต่อไปนี้
-
- หากเป็นในระยะที่ 1 และ 2 ให้ไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาซึ่งส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาด้วยการให้รับประทานยา ทายา นอกจากนี้ยังบรรเทาอาการด้วยการแช่มือลงในน้ำอุ่นและบริหารเหยียดนิ้วเป็นประจำ
- หากเป็นในระยะที่ 3-4 แพทย์จะต้องรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ เข้าบริเวณปลอกหุ้มเอ็น และทำการบริหารเหยียดนิ้ว แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด
การป้องกันโรคนิ้วล็อค
การเซฟตัวเองเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถฝึกทำได้เพราะไม่ใช่เฉพาะอาการนิ้วล็อคอย่างเดียวที่เป็นเรื่องใกล้ตัว การถนอมเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อต่างๆ เป็นสิ่งที่จะช่วยให้ร่างกายเสื่อมสภาพช้าลง ซึ่งโรคนิ้วล็อคสามารถป้องกันได้ดังต่อไปนี้
-
- การหิ้วของหนัก ไม่ว่าจะเป็นถุง ถังน้ำ ตะกร้า ควรหาผ้ามารองและพยายามกระจายน้ำหนักไปที่ฝ่ามือ อย่าใช้แรงที่นิ้วในการยกของหนักๆ
- การบิดผ้าแรงๆ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีอาการนิ้วล็อค ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงที่จะบิดผ้าติดต่อกันเป็นจำนวนมาก หรือหากจำเป็นต้องทำระหว่างบิดผ้าให้พักมือบ่อยๆ
- การเล่นสมารท์โฟนและคอมพิวเตอร์ ไม่ควรใช้งานติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยเฉพาะการใช้มือเล่นเกมและต้องเกร็งมืออยู่ตลอดเวลา เพราะจะทำให้เกิดอาการนิ้วล็อคได้ง่าย
- ในผู้ที่ต้องทำงานใช้มือเกร็งจับของเป็นเวลานานๆ อาทิ ช่างซ่อมรถที่ใช้ไขควง, คนตัดต้อไม้ที่ใช้กรรไกรตัดกิ่ง ผู้ที่ใช้มือทำงานหนักและท่าทางเดิมๆ ตลอดเวลาต้องเซฟเส้นเอ็นด้วยการใส่ถุงมือเพื่อลดแรงกระแทก รวมทั้งต้องหยุดพักเพื่อให้ข้อมือไม่เกร็งนานจนเกินไปด้วย
- ในผู้ที่ออกำลังกายหรือเล่นกีฬาด้วยท่าทางที่ซ้ำๆ อาทิ การเล่นกอล์ฟ ควรใส่ถุงมือทุกครั้งเวลาเล่นและไม่ควรใช้เวลาในการเล่นนานเกินไปด้วย
เพราะโรคนิ้วล็อคเป็นอีกหนึ่งอาการความเสื่อมของวัยที่พบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ในผู้ที่ใช้งานมือบีบหรือกำสิ่งต่างๆ บ่อยๆ ก็จะทำให้มีอาการโรคนิ้วล็อคได้ก่อนวัย ซึ่งหากปล่อยอาการให้เป็นนานๆ โดยที่ไม่เข้ารับการรักษาจะทำให้ข้อนิ้วมีอาการยึดแข็งจนไม่สามารถขยับได้และพิการในที่สุด ดังนั้นหากเริ่มมีอาการในระยะแรกก็ควรไปพบแพทย์ทันทีเพราะระยะแรกๆ จะรักษาหายได้ง่ายและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยากอีกด้วย