โรคข้อเสื่อม

        โรคข้อเสื่อม เป็นอีกโรคเรื้อรังที่สร้างความเจ็บปวดให้คนไข้ไม่น้อย โดยเป็นภาวะที่กระดูกข้อต่อเกิดการสึกกร่อน จนทำให้ช่องว่างระหว่างข้อต่อแคบลงและสามารถลุกลามจนข้อต่อเกิดการคดงอ จนถึงพิการได้ โดยสาเหตุของโรคส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กันระหว่างอายุและน้ำหนักตัว ยิ่งน้ำหนักตัวมากๆ เมื่อแก่ตัวลงจะมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อมได้ง่าย รวมทั้งผู้ที่ได้รับการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่ส่งผลต่อข้อโดยตรงก็มักจะเป็นเช่นกัน

ปรึกษาแพทย์โรคข้อเสื่อม

ลักษณะของโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม

        เมื่อมีการใช้งานกระดูกข้อต่อที่ยาวนานหรือใช้งานหนัก กระดูกข้อต่อจะเกิดการสึกกร่อนไปตามวัย ทำให้เริ่มมีช่องว่างข้อต่อที่แคบลง ขนาดของกระดูกข้อต่อใหญ่ขึ้นและยังสามารถมีกระดูกงอกออกมาได้อีกด้วย นอกจากนี้กล้ามเนื้อโดยรอบและเส้นเอ็นที่ใช้งานมากนานจะเกิดการยึดหรือหย่อนยาน สุดท้ายจึงเกิดปัญหาการคดงอขอกระดูกข้อต่อได้ ส่วนใหญ่พบได้ในอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า อาการของโรคข้อเสื่อมหากเป็นมากๆ สามารถทำให้พิการได้เลยทีเดียว

สาเหตุโรคข้อเสื่อม

โรคข้อเสื่อม

        แม้ว่าโรคข้อเสื่อมจะยังไม่รู้สาเหตุที่แท้จริงว่าเกิดขึ้นจากอะไร แต่ส่วนใหญ่แล้วปัจจัยที่เร่งให้มีอาการข้อเสื่อมได้ไวขึ้นมีอยู่หลายสาเหตุดังต่อไปนี้

    1. เพศ โรคข้อเสื่อมมักจะเป็นในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายถึง 2 เท่า โดยเฉพาะในวัย 50 ปีซึ่งเป็นวัยหมดประจำเดือน เพราะเป็นช่วงที่ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้ร่างกายมีการซ่อมแซมเซลล์กระดูกอ่อนน้อยลง จึงมีโอกาสข้อเสื่อมได้ง่าย
    2. น้ำหนัก เพราะในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน ข้อต่างๆ ในร่างกายจะยิ่งแบกน้ำหนักมากกว่าคนปกติ โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งปกติก็เป็นส่วนที่ใช้รับน้ำหนักและทรงตัวอยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อมีน้ำหนักตัวเกินก็จะยิ่งทำให้ข้อเข่าทำงานหนักขึ้น
    3. อายุ เพราะโรคข้อเสื่อมมักจะพบได้ในผู้สูงอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป โดยร้อยละ 80 จะเป็นโรคข้อเสื่อมเพราะการใช้งานข้อมาเป็นเวลานาน แต่ในบางรายอาจจะไม่แสดงอาการ
    4. การบาดเจ็บ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่สามารถเกิดขึ้นได้ เพราะเมื่อบาดเจ็บแล้วหลอดเลือดที่จะไปเลี้ยงภายในข้อจะลดลง จึงทำให้การซ่อมแซมตัวเองบริเวณนั้นลดลงไปด้วย
    5. อาชีพ ในผู้ที่มีอาชีพที่ต้องงอเข่าบ่อยๆ หรือผู้ทีมใช้งานหัวเข่าเยอะๆ อยากนักวิ่ง ก็สามารถเกิดปัญหาข้อเสื่อมขึ้นได้บ่อยและเร็วกว่าคนทั่วไป
    6. พันธุกรรม โรคข้อเสื่อมสามารถส่งต่อทางพันธุ์กรรมได้
      อาการโรคข้อเสื่อม
      อาการแรกเริ่มของโรคข้อเสื่อมคือจะมีอาการปวดเมื่อมีการใช้งานข้อนานๆ ซึ่งจะสามารถหายได้เองเมื่อพักการใช้งาน แต่เมื่อเป็นมากๆ จะมีอาการปวดตลอดเวลาแม้แต่ตอนที่นอนและไม่ได้ใช้งานข้อ นอกจากนี้ยังมีอาการตึงขัด สูญเสียการเคลื่อนไหว ข้อไม่แข็งแรงใช้งานหนักไม่ได้ รวมทั้งยังมีอาการบวมและผิดรูปอีกด้วย

การรักษาโรคข้อเสื่อม

        เพราะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายเป็นปกติได้ แต่สามารถชะลอให้การเสื่อมช้าลงได้ รวมทั้งบรรเทาอาการปวดและพยายามให้อวัยวะที่ข้อเสื่อมใช้งานได้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด นอกจากนี้ยังเฝ้าระวังความพิการที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย แพทย์จึงมุ่งเน้นที่จะรักษาด้วยการให้คำแนะนำ ทำกายภาพบัด ลดความเสี่ยงในพฤติกรรมที่ไม่ควรทำ เพื่อบรรเทาอาการที่อาจจะลุกลามไปได้อีก นอกจากนี้ยังมีการใช้ยาและการรักษาด้วยการผ่าตัดได้อีกด้วย

การป้องกันโรคข้อเสื่อม

    1. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ เพราะการแบ่งน้ำหนักตัวอยู่ตลอดเวลาจะทำให้ข้อต่อทำงานหนักและมีความตึงจนเกิดการอักเสบและเสื่อมสภาพได้ง่าย รวมทั้งยังส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนไข้เองด้วย
    2.  ปรับเปลี่ยนท่านั่งให้เหมาะสม ท่านั่งที่ทำให้ข้อต่างๆ เสื่อมไว้ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ, นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ เป็นต้น หากจำเป็นต้องนั่งลักษณะนี้เป็นเวลานานๆ ควรเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ และต้องลุกขึ้นเดินยืดเส้นยืดสายบ่อยๆ
    3. ปรับเปลี่ยนโถส้วมให้เป็นแบบนั่ง ไม่ควรให้ผู้สูงอายุนั่งยองๆ ในการเข้าห้องน้ำ เพราะจะยิ่งเร่งให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น รวมทั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุเข้าห้องน้ำได้สะดวกมากขึ้น
    4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งก่อนและหลังการออกกำลังกายต้องอบอุ่นร่างกายให้ตื่นตัวก่อน และเลือกชนิดการออกกำลังกายที่ไม่มีผลเสียต่อข้อ อาทิ ว่ายน้ำ, เดินในน้ำ, การปั่นจักรยาน เป็นต้น
    5. การออกกำลังกายที่มีผลต่อข้อโดยตรงควรอยู่ภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญ เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อต่อได้ง่าย
    6. หลีกเลี่ยงการนั่งอยู่ในท่าเดิมนานๆ ควรขยับเปลี่ยนท่าเป็นระยะ หรือลุกขึ้นเดินเพื่อยืดเส้นยืดสาย และต้องปรับตำแหน่งเก้าอี้ให้เหมาะสมอย่าให้เก้าอี้สูงหรือต่ำเกินไป เพราะจะยิ่งทำให้ข้อของเราทำงานหนักขึ้น

        แม้เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเกือบทุกคน แต่ในบางคนที่เป็นโรคข้อเสื่อม แต่ก็ไม่ได้แสดงอาการมากนัก แต่ในบางรายก็เจ็บปวดมากและมีโอกาสที่จะต้องพิการ ดังนั้นการใช้งานข้อต่อต่างๆ ด้วยความระมัดระวังจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อมในระยะรุนแรงหรือชะลอให้เกิดช้าที่สุด