fbpx

Tag Archives: หมอรักษาโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เกิดขึ้นได้อย่างไร

         โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยทุกข์ทรมานกับอาการปวดข้อ เพราะเมื่อร่างกายของเรามีปริมาณกรดยูริคมากเกินไป กรดเหล่านั้นก็จะไปจับตัวกันเป็นผลึกตามข้อต่อของร่างกาย ทั้งข้อต่อเล็กอย่างข้อนิ้วเท้า นิ้วมือ และข้อต่อส่วนอื่น ๆ ซึ่งทำให้เกิดอาการบวม อักเสบ ผู้ป่วยจะเจ็บปวด อาการแบบนี้เรียกว่า โรคเก๊าท์กำเริบ ทำให้ต้องรับการรักษา ทั้งด้วยการใช้ยา การปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหาร และการดำเนินชีวิตประจำวันบางอย่างเมื่ออาการของโรคกำเริบ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดบวมตามข้อ ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะมากกว่าหนึ่งจุด ส่วนมากผู้ป่วยโรคเก๊าท์ จะมีอาการที่ข้อต่อนิ้วโป้งเท้า และที่อื่น ๆ อีก ได้แก่ เข่า ข้อเท้า เท้่า มือ เอว และข้อศอก โรคเก๊าท์กำเริบสามารถเกิดกับใครได้บ้าง          แน่นอนว่า โรคเก๊าท์นี้ สามารถเกิดขึ้นกับใครก็ได้ ในผู้ชายมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้เร็วกว่าผู้หญิง โดยมักจะเกิดกับผู้หญิงหลังหมดประจำเดือน และผู้ชายก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าผู้หญิงมากถึง 3 เท่า เพราะผู้ชายจะมีระดับกรดยูริคในร่างกายสูง แต่ผู้หญิงนั้นระดับกรดยูริคจะสูงขึ้นเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน         นอกจากนี้ […]

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

ทำอย่างไรไม่ให้อาการของโรคเก๊าท์กำเริบ

          ปัจจุบันนี้ มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องทุกข์ทรมาณกับความเจ็บปวดด้วยโรคเก๊าท์ แต่ในสมัยก่อนนั้น เคยมีผู้เรียกโรคเก๊าท์ว่าเป็น disease of king เป็นการเปรียบเปรยว่า เป็นโรคของกลุ่มคนที่กินดีอยู่ดีมากเกินไป ทุกวันนี้ คนเรากินดีอยู่ดีกันมากขึ้น โรคเก๊าท์ก็มากขึ้นตามไปด้วย          อาการของโรคเก๊าท์ เกิดขึ้นเมื่อกรดยูริค ซึ่งเป็นสารเคมีในร่างกายของเรา มีปริมาณมากเกินไป และไปจับตัวกันบริเวณข้อต่อของร่างกาย เมื่อมากเกินไป ก็เกิดการอักเสบ ทำให้ผู้ป่วยเกิดความเจ็บปวดตามข้อ บางครั้งก็มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการคล้าย ๆ กับไข้หวัด           ในปี 2012 ARC หรือ American College of Rueumatology ได้กล่าวถึงแนวทางในการป้องกันและดูแลโรคเก๊าท์ว่า ผู้ที่มีความเสี่ยง ควรทราบถึงกุญแจสำคัญในการควบคุมโรคคือ ต้องรักษาระดับกรดยูริคไว้ไม่ให้เกิน 6.0 mg/dL ยิ่งผู้ป่วยรายใด มีอาการของโรคกำเริบขึ้นบ่อย […]

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

ควบคุมอาหารอย่างไรเมื่อเป็นเก๊าท์

      โรคเก๊าท์ เป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวดทุกข์ทรมาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อโรคแสดงอาการออกมา แต่ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่า เมื่ออาการของโรคสงบ แปลว่าโรคนั้นได้หายไปแล้ว ตรงกันข้าม โรคยังคงอยู่ แต่ไม่แสดงอาการเท่านั้น ผู้ป่วยโรคนี้ จึงต้องดูแลสุขภาพ เพื่อควบคุมไม่ให้อาการกำเริบ ทั้งการรับประทานยา การดำเนินชีวิต และการเลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยได้มีการศึกษาพบว่า การปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับเลือกประทานอาหาร สามารถช่วยให้อาการของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ดีขึ้น       การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์โรคเก๊าท์เกิดจากมีระดับของกรดยูริคในเลือกมากเกินไป ยูริกที่มากเกินไปนี้จะไปจะไปก่อตัวที่บริเวณข้อต่อของร่างกาย แล้วทำให้เกิดอาการอักเสบ ดังนั้น การลดปริมาณการรับประทานอาหารที่มีกรดยูริค จึงเป็นสิ่งสำคัญ อาหารที่มีปริมาณกรดยูริคสูง ได้แก่ สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ อาหารทะเลอย่างเช่นปลา ปู หอย  เนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก แอลกอฮอล์ โดยเฉพาะเหล้า เบียร์ อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่นน้ำอัดลม        อาหารที่มีกรดยูริคสูงเหล่านี้ ไม่ถึงกับห้ามรับประทาน แต่จะเป็นการดีหากสามารถจำกัดปริมาณได้ อีกทั้งอาหารบางอย่าง ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ผู้ป่วยบางคนรับประทานเข้าไป ทำให้อาการกำเริบ […]

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

เป็นโรคเก๊าท์ควรปฏิบัติตัวอย่างไร

โรคเก๊าต์ เป็นโรคข้ออักเสบชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู็ป่วยเกิดอาการปวดที่ข้ออย่างฉับพลัน ร่วมกับมีอาการข้อแข็งและบวม อาการสามารถจะเกิดขึ้นได้ทั้งที่นิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า และข้อเข่า ยิ่งปล่อยไว้นานอาการก็จะรุนแรงขึ้น อาจจะถึงขั้นเป็นอันตรายต่อข้อต่อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อได้ โรคเก๊าต์นั้นเกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริคในเลือดสูงมาเป็นเวลานานหลายปี ยูริคจึงตกตะกอนแล้วไปสะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าสะสมที่ข้อต่อมาก ก็จะเกิดอาการข้อต่ออักเสบ แดง ปวด ร้อนที่บริเวณข้อต่ออาการของโรคเก๊าต์นั้น เริ่มแรกจะปวด แดง เฉียบพลัน ไม่มีอาการเตือน จะปวดมากในวันแรกและค่อย ๆ หายไป อาจจะใช้เวลาประมาณ 5-7 วัน แน่นอนว่า เมื่อเกิดอาการขึ้นมาแล้ว ผู้ปวยจะทุกข์ทรมาณ ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันลำบาก อีกทั้งยังเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ยาก ดังนั้น ผู้ที่เป็นโรคดังกล่าวนี้ จึงต้องรู้วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อที่จะอยู่กับโรคนี้ได้อย่างไม่ทรมาณ การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเก๊าต์ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ยังไม่เกิดอาการปวดซึ่งต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด และระยะที่เมื่อเกิดอาการปวดขึ้นมาแล้ว ว่าจะต้องดูแลเพื่อบรรเทาอาการอย่างไร การป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวด มีดังนี้– ในระยะที่โรคไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่งเพื่อรักษาระดับกรดยูริคในร่างกายให้เป็นปกติ และเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการเป็นประจำ ตามการนัดหมาย– […]