fbpx

โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

โรคข้อเสื่อมในผู้สูงอายุ

ข้อเสื่อม เป็นภาวะความเสื่อมถอยของกระดูกอ่อนผิวข้อที่เกิดจากการใช้งานมาเป็นเวลานาน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกข้อในทุกส่วนของร่างกาย แต่มักจะเป็นข้อที่รับน้ำหนักมากๆ อาทิ ข้อสะโพก, ข้อเข่า ซึ่งเมื่อกระดูกอ่อนบริเวณข้อถูกทำลายจากกาลเวลา การใช้งานหนัก การเกิดอุบัติเหตุ หรือจากภาวะอื่นๆ กระดูกอ่อนบริเวณข้อนี้จะคดงอผิดรูปไปจากเดิม จนทำให้เกิดโรคข้อเสื่อมนั้นเอง

ช่วงอายุที่มักจะเป็นโรคข้อเสื่อม

อาการข้อเสื่อมสามารถพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า โดยจะเริ่มได้ตั้งแต่วัยหมดประจำเดือนหรืออายุประมาณ 40 ปีขึ้นไปและเป็นมากที่สุดในช่วงอายุ 65 ปี อาการจะเกิดขึ้นได้ตามข้อต่างๆ ในร่างกายไม่ว่าจะเป็น ข้อเข่า, ข้อสะโพก, ข้อกระดูกสันหลัง, ข้อกระดูกคอ หรือแม้แต่ข้อนิ้วมือ ซึ่งสามารถปวดข้อหลายๆ ตำแหน่งพร้อมกันได้อีกด้วย แต่ในผู้สูงอายุบางรายอาจไม่พบอาการข้อเสื่อม เพราะโรคนี้สัมพันธ์โดยตรงกับฮอร์โมนในร่างกาย ความอ้วนและกิจกรรมในชีวิตประจำวันรวมทั้งการทำงานด้วย ดังนั้นผู้ใช้งานข้อหนัก ยกของหนัก หรือนั่งง้อเข่าตลอดเวลาเมื่ออายุมากขึ้นจะทำให้มีอาการข้อเสื่อมได้ง่าย

อาการที่บ่งบอกว่าเป็นโรคข้อเสื่อม

อาการของโรคข้อเสื่อมมีได้ 2 ระยะ โดยระยะแรกจะแสดงอาการปวดบริเวณข้อต่างๆ โดยเฉพาะเวลาเดินมากๆ หรือนั่งท่าเดิมนานๆ แต่เมื่อพักขาหรือยืดขาอาการอาจจะทุเลาลง นอกจากนี้ยังมีอาการเสียงดังกรอบแกรบจากภายในข้อให้ได้ยินอีกด้วย ซึ่งหากปล่อยไว้ไม่ปรึกษาแพทย์อาการจะลุกลามเป็นระยะรุนแรงที่จะปวดข้อหนักขึ้น ปวดในช่วงกลางคืนหรือเวลาเดินเพียงเล็กน้อย คล้ำบริเวณข้ออาจพบกระดูกงอกข้างๆ ข้อ รวมทั้งหากมีอาการอักเสบจะทำให้ข้อบวมและปวดร้อน เดินได้ลำบาก

วิธีเลี่ยงอาการข้อเสื่อมก่อนวัย

  • หลีกเลี่ยงการอิริยาบถที่มีผลต่อข้อเข่า อาทิ การนั่งขัดสมาธิ, การนั่งไขว้ห้าง, นั่งพับเพียบ เป็นต้น
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและให้เหมาะสมกับวัย โดยผู้สูงอายุควรเลือกชนิดการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม อาทิ การออกกำลังกายในน้ำ, การการเดินช้าๆ, การปั่นจักรยาน เป็นต้น
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม โดยควรเลือกรับประทานอาหารที่ไขมันต่ำและมีวิตามินซีสูง

อาการข้อเสื่อมแม้ส่วนใหญ่แล้วจะมีสาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น แต่หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนั่ง การเดิน และการรับประทานอาหารให้เหมาะสมก็อาจจะสามารถหลีกเลี่ยงโรคข้อเสื่อมในวัยสูงอายุได้ รวมทั้งหากเริ่มมีอาการในระยะแรกอย่าปล่อยไว้จนอาการลุกลามควรรีบไปพบแพทย์ทันที

ปรึกษาปัญหาโรคกระดูกและข้อ
คลินิกกระดูกและข้อ หมอสุทธิ์
โทร. 061-010-6396