fbpx

แคลเซียมกินอย่างไรให้เพียงพอ

แคลเซียมกินอย่างไรให้เพียงพอ

ต้องรับประทานแคลเซียมมากแค่ไหน ให้เพียงพอต่อการดูแลมวลกระดูก

               ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันนี้เทรนด์วงการดูแลสุขภาพกำลังมาแรงสุดๆ เมื่อหลายๆคนเริ่มที่จะเข้ามาใส่ใจสุขภาพก็มักจะมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นตามมามากมาย อาทิเช่น การเป็นกังวลกับปริมาณสารอาหารที่ควรได้รับต่อวัน การออกกำลังกาย และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆตามมาอีกจนทำให้แอบปวดหัวกับตนเองว่าเรายังได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ หรือได้รับจนมากเกินความจำเป็นในร่างกายหรือไม่ วันนี้เราจะมาเจาะหัวข้อประเด็นสุขภาพกันในส่วนของมวลกระดูกในร่างกาย หากให้พูดถึงอวัยวะที่สำคัญมากๆในร่างกายแต่เราไม่ค่อยที่จะใส่ใจมากเท่าที่ควรก็คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระดูกนั้นเป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ถูกละเลยอยู่พอสมควร เมื่อเรายังอยู่ในช่วงวัยที่กำลังเจริญเติบโตร่างกายของเรายังมีความแข็งแรง กระฉับกระเฉง และมีประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมที่ต้องใช้แรงต่างๆมากมายเนื่องจากมีมวลกระดูกที่คอยรับแรงกระแทกและทำงานตามกลไกอย่างเหมาะสม แต่เมื่อเราเริ่มแก่ตัวลงการผลิตฮอร์โมนต่างๆก็ลดลง ทำให้มวลกระดูกมีโอกาสเปราะบางและเสี่ยงต่อโรคเจ็บปวดอื่นๆตามมา เรามักถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กจากสื่อต่างๆและสิ่งแวดล้อมว่าการดื่มนมนั้นจะช่วยให้กระดูกมีความแข็งแรงเนื่องจากมีแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ทำให้เราดื่มนมที่เต็มไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างไม่ต้องคิดสงสัย แต่เมื่ออายุมากกิจกรรมต่างๆก็มากตาม การละเลยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ที่มีโอกาสลดน้อยลงตามไปด้วย ทำให้ผู้คนหันไปพึ่งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมและวิตามินบำรุงร่างกายเพื่อส่งเสริมการทำงานให้มีประสิทธิภาพ แต่ใครจะรู้ว่าปริมาณวิตามินและแร่ธาตุต่างๆนั้นก็มีการรับดูดซึมสู่ร่างกายที่แตกต่างกัน แต่ละตัวก็มีหน้าที่ ประโยชน์ และโทษต่อร่างกาย ดังนั้นจึงต้องตรวจสอบและหมั่นศึกษาหาข้อมูลอย่างละเอียด เช่นในวันนี้ที่จะมาอธิบายเกี่ยวกับ Ca หรือแคลเซียมที่หลายคนรู้จักว่ามันมีประโยชน์และความเหมาะสมต่อกระดูกอย่างไร

 

  • วัยเด็ก (อายุ 1-10 ปี)

               วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ควรได้รับแคลเซียมเฉลี่ย 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เพื่อนำมาเสริมสร้างความแข็งแรงของโครงาร้างและการสะสมมวลกระดูกและการเพิ่มพัฒนาการความสูง และส่วนอื่นๆของร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างโครงสร้างของร่างกาย

 

  • วัยรุ่น (อายุ 11-25 ปี)

               ในช่วงวัยนี้นั้นเรียกได้ว่าเป็นวัยที่ต้องพลังงานและกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายมีการเจริญพันธุ์ ดังนั้นจึงควรจะได้รับแคลเซียมในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากเป็นช่วงที่กำลังก่อรูปทรงของกระดูกในร่างกาย จึงควรได้รับแคลเซียมอย่างสม่ำเสมอ เพราะถ้าหากเราขาดแคลเซียมในช่วงนี้อาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคโรคกระดูกอ่อน มีอาการเจ็บกระดูก เจ็บกล้ามเนื้อ และอาจลามไปประสบกับภาวะกระดูกหักได้

 

  • วัยกลางคนหรือวัยผู้ใหญ่ (อายุ 26-40 ปี)

               ในวัยนี้ควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อให้เพียงพอและส่งเสริมต่อกิจกรรมภาระงานต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในวัยนี้จะมีการพัฒนาร่างกายที่สมบูรณ์ มีการพัฒนากล้ามเนื้อและไขมันเต็มที่ มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังในการทำกิจกรรมต่างๆ

 

 

  • คุณแม่ตั้งครรภ์

               ในผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์อยู่นั้นจำเป็นต้องได้รับสารอาหารในปริมาณมากเพื่อบำรุงร่างกายและทารกน้อย จึงควรได้รับแคลเซียม 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งมากกว่าคนธรรมดาเป็นกรณีพิเศษ เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์จะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกน้อยเพื่อการพัฒนาโครงสร้างและระบบต่างๆในร่างกายของทารกในครรภ์ ในไตรมาสแรกนั้นหญิงตั้งครรภ์ควรได้รับสารอาหารที่หลากหลาย แต่จะมีอาการคลื่นไส้แพ้ท้อง ทานอะไรไม่ค่อยลง ดังนั้นจึงควรพยายามย่อยมื้ออาหารให้เป็นมื้อเล็กๆทีละหลายมื้อ และดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

 

  • คุณแม่ให้นมบุตร

               สำหรับคุณแม่หลังคลอดนั้นจะต้องคอยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะโภชนาการที่ดี ควรได้รับแคลเซียม 1,500 – 2,000 มิลลิกรัมต่อวันเพื่อไม่ให้มวลกระดูกลดลง ซึ่งสามารถได้รับจากผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ปลาทะเลน้ำลึก เต้าหู้ ถั่วเหลือง

 

  • วัยสูงอายุ (อายุ 65 ปีขึ้นไป)

               เมื่ออายุเริ่มเสื่อมสภาพลง ความแข็งแรงของมวลกระดูกก็ลดลงตามไปเช่นกัน ทำให้เสี่ยงต่อภาวะโรคกระดูกที่เกิดจากความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ผู้สูงอายุจึงควรได้รับแคลเซียม 1,000-1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งมากกว่าคนธรรมดาทั่วไป เพราะเมื่อร่างกายเข้าสู่ช่วงอายุมากว่า 40 ปีขึ้นไปจะดูดซึมแคลเซียมน้อยลงและไม่สะสมแคลเซียมในร่างกายอีกต่อไป การทำงานของฮอร์โมนต่างๆก็จะลดลง โดยเฉพาะในผู้หญิงก็จะประสบกับการหมดประจำเดือนจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่น้อยลง ผิวเริ่มเหี่ยวไม่เต่งตึง ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายเริ่มเสื่อมถอย และเมื่อประกอบกับการเคลื่อนไหวที่เริ่มน้อยลง นอกจากปัญหาภายนอกที่เริ่มแสดงออกมาแล้วก็ยังมีโอกาสเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้ง่าย การขาดการละเลยในการดูแลร่างกายในช่วงนี้จะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอย่างหนัก หากได้รับปริมาณแคลเซียมไม่เพียงพอ จะทำให้กระดูกเปราะ พรุนและไม่แข็งแรง