fbpx

เอ็นข้อศอกอักเสบ

เอ็นข้อศอกอักเสบ

เอ็นข้อศอกอักเสบเกิดจากอะไร ?

          เอ็นข้อศอกอักเสบ คือ อาการปวดบริเวณข้อศอกสาเหตุเกิดมาจากข้อศอกเกิดการอักเสบ การเสื่อมสภาพของเส้นเอ็น ทำให้เส้นเอ็นเกิดการฉีกขาดที่บริเวณข้อศอก เมื่อเกิดการฉีกขาดของเส้นเอ็นบริเวณข้อศอก จะทำให้ปวดข้อศอก หรือแม้แต่เวลาที่เรางอข้อศอก โดยเกิดจากการที่เราใช้งานมือ ข้อมือและข้อศอกมากเกินไป หรือต้องใช้งานในรูปแบบเดิมซ้ำ ๆ ทำให้เกิดการอักเสบขึ้นได้ แม้ว่าอาการเจ็บจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อศอกก็ตาม สาเหตุที่แท้จริง นั้น เกิดมาจากการใช้งานมือและข้อมือร่วมด้วย ที่เป็นอย่างนั้นก็เพราะว่าเอ็นและกล้ามเนื้อตรงบริเวณมือและตรงข้อมือจะมาเกาะที่บริเวณข้อศอก ทำให้อาการเจ็บไปเกิดขึ้นที่บริเวณข้อศอก ส่วนมากที่พบจะเป็นกลุ่มนักกีฬาเทนนิส นักกอล์ฟ เพราะการที่ต้องเหยียดแขนหรืองอข้อมือซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เช่น

    • นักกอล์ฟ มีอาการปวดมากขึ้นเวลาตีกอล์ฟ
    • คนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย
    • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรครูมาตอยด์ และโรคเกาต์
    • คนที่ทำไร่ ทำสวน จะเป็นกันมาก เพราะการออกแรงตึง หรือการสะบัด หรือการใช้งานซ้ำ ๆ มากเกินไป เป็นต้น

เกิดขึ้นได้กับทุกอาชีพ โดยฉะเพราะคนอายุ 30 ปีขึ้นไป ถ้าอาการไม่รุนแรงก็สามารถรักษาเองได้ที่บ้าน เช่นทายา หรือทานยา แต่ถ้าหากบางกรณีที่มีอาการรุนแรงมากต้องไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการตรวจรักษาให้ถูกวิธี

 

สาเหตุการเกิดเอ็นข้อศอกอักเสบ

          เอ็นข้อศอกอักเสบ มีสาเหตุมาจากการใช้งานหนัก ออกแรงตึง การสะบัดแขน หรือการใช้งานซ้ำ ๆ มากเกินไป  อย่างเช่นการตอกตะปู ทาสี  หรือแม้แต่การใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากเกินไปก็สามารถทำให้ข้อศอกอักเสบได้  ส่วนมากจะพบในกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือในการทำงานต่างๆ อย่างหนัก เช่น ชาวไร่ ชาวนา ทำงานบ้าน และงานสวน หรือทุกอาชีพก็ว่าได้ เพราะต้องใช้ข้อมือทำงานซ้ำ ๆ อยู่ตลอดเวลาทำกล้ามเนื้อส่วนนี้ทำงานหนักจึงทำให้ข้อศอกอักเสบได้ เช่น

    • ช่างทุกประเภท เช่น ช่างทาสี ช่างไม้ เป็นต้น
    • คนที่ชอบออกกำลังกายโดยเฉพาะคนที่ชอบยกเวท ยกน้ำหนัก ที่เรียกน้ำหนักมากเกินไป
    • นักกีฬาจำพวก แบดมินตัน ตีปิงปอง เทนนิส กอล์ฟ 
    • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์
    • โรคเอ็นอักเสบ คือเอ็นกล้ามเนื้ออักเสบบริเวณข้อศอก
    • ทำงานบ้าน เช่น การชักผ้า บิดผ้า ถูบ้าน เป็นต้น

ลักษณะของอาการเอ็นข้อศอกอักเสบ               

          เอ็นข้อศอกอักเสบ มีลักษณะอาการปวดตรงปุ่มกระดูกข้อศอกจะค่อยปวดทีละน้อย ๆ และจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตรงบริเวณเอ็นกล้ามเนื้อที่เกิดการอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อเราเกร็งกล้ามเนื้อหรือกระดกข้อมือขึ้น ลง สู้กับแรงต้าน จะทำให้มีอาการปวดมากขึ้น และยิ่งเพิ่มความรุนแรงมากขึ้น อาการก็จะแตกต่างกันออกไป บางครั้งอาจจะปวดเพียงเล็กน้อย หรือปวดมากขึ้นจนไม่สามารถใช้แขนได้

    • ขยับแขนไม่ได้
    • ยกของหนักไม่ได้
    • งอแขนไม่ได้
    • เจ็บเมื่อกดตรงข้อมือ
    • หยิบจับสิ่งของไม่ได้

หากใครที่กำลังมีอาการดังกล่าว แนะนำให้ไปแพทย์ เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เส้นเอ็นข้อศอกยิ่งอักเสบเรื้อรังและรุนแรง

การรักษาเบื้องต้น

           ผู้มีอาการเอ็นข้อมืออักเสบเริ่มต้น สามารถซื้อยามาทานแก้ปวด หรือยาคลายเส้นเพื่อบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ ดังนี้

    • ทำกายภาพบำบัด คือการออกกำลังกายโดยเฉพาะ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานและยังสามารถช่วยเสริมให้กล้ามเนื้อแขนส่วนล่างกลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม
    • ประคบเย็นด้วยผ้าห่อน้ำแข็งหรือเจลเย็นประคบประมาณ 15 นาที ทำวันละ 3-4 ครั้ง
    • ทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรด้วย)
    • หาอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยประคองแขน และจำกัดการเคลื่อนไหวให้อยู่ในท่าที่ปลอดภัย จะช่วยทำให้เอ็น หรือกล้ามเนื้อให้ได้พักฟื้นชั่วคราว และยังสามรถช่วยลดอาการปวดได้
    • ถ้าปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้

 

วิธีการรักษาทางการแพทย์    

การรักษาทางการแพทย์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่อาการและดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งการรักษาก็จะมีหลายวิธี ดังนี้

    • ทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวดและบวม
    • ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อช่วยประคองแขน และจำกัดการเคลื่อนไหว
    • ฉีดยาแก้อักเสบ เพื่อทำให้หายเร็วขึ้นใช้เวลาแค่ 2-3วัน อาการปวด บวม อักเสบก็จะหายไป
    • และหากทำทุกวิธีที่กล่าวมาแล้วยังไม่หาย แพทย์ต้องทำการผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีสุดท้ายที่หายเร็วที่สุด

การป้องกันเอ็นข้อศอกอักเสบไม่ให้เกิดภาวะเอ็นข้อศอกอักเสบ

          การอักเสบตรงบริเวณเอ็นข้อมือส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการใช้งานแขนและมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้บาดเจ็บของเส้นเอ็น อย่างเช่น การยกของที่มีน้ำหนัก, การทำสวน หรือการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่หยุดพักและนอกจากนี้ การเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงแขนและมือ อย่างเทนนิส, แบดมินตัน  หรือกอล์ฟ ที่เล่นติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะเป็นอันตรายได้เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรจะปรับเปลี่ยนการทำงานอย่างเหมาะสม และให้ระมัดระวัง บางครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยพยุงข้อศอก ก็สามารถช่วยป้องกันการเกิดเอ็นข้อศอกอักเสบได้  เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

    • ออกกำลังกายท่าบริหารข้อมือและแขน เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกด้วย
    • ก่อนเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่ต้องใช้แขนบ่อย ๆ ควรวอรม์ร่างกายให้อบอุ่นและยืดกล้ามเนื้อก่อน
    • การออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อป้องกันการบาดเจ็บระหว่างที่เล่นกีฬา