fbpx

เอ็นข้อมืออักเสบเกิดจากอะไร

เอ็นข้อมืออักเสบ

เอ็นข้อมืออักเสบ (De quervain’s disease) คือ ลักษณะอาการเกิดจากเยื่อหุ้มเอ็นของเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือ มีการกดทับของเส้นเอ็น ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเอ็นภายในตรงบริเวณข้อมือ ส่งผลให้เยื่อหุ้มเอ็นอักเสบและจะพบว่ามาจากการใช้งานที่บ่อย, ใช้งานไม่ถูกท่า โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ใช้มือทำงานบ่อยๆ ซ้ำๆ และข้อมืออยู่ในท่าที่ไม่ถูกต้อง กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อเอ็นข้อมืออักเสบ มีดังนี้

    • คนทำงาน , คนที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์
    • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์
    • กลุ่มคนที่ใช้สมาร์ทโฟนทำงาน เป็นต้น

โดยเกิดขึ้นได้บ่อยกับคนที่นั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ ถ้าอาการไม่รุนแรงสามารถรักษาเองได้ที่บ้านเช่นทายา หรือทานยา แต่ถ้าหากบางกรณีที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นต้องไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการตรวจรักษาให้ถูกวิธี

สาเหตุการเกิดเอ็นข้อมืออักเสบ
เอ็นข้อมืออักเสบ มีสาเหตุมาจากการที่ข้อมือเราไปกระแทกกับวัตถุสิ่งของที่แข็ง หรือแม้แต่การใช้งานบริเวณข้อมือบ่อยมากเกินไปก็สามารถทำให้อักเสบได้ ส่วนมากจะพบในกลุ่มคนที่ใช้ข้อมือในการทำงานต่างๆ อย่างหนัก เช่น ทำงานบ้าน งานสวน และในกลุ่มแม่บ้าน หรือคนที่ทำอาชีพเป็นแม่บ้าน การทำความสะอาด จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นเอ็นข้อมืออักเสบมากกว่าคนอาชีพอื่นๆ และส่วนมากจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงหยิบจับทำนั้นทำนี้อยู่ตลอดเวลา จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมถึงพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย

    • ทำงานบ้าน กวาดบ้าน ถูบ้าน ชักผ้า หรือการเลี้ยงลูก
    • ทำงานกับคอมพิวเตอร์ การวางมือในการพิมพ์งานไม่ถูกต้อง
    • คนที่ใช้สมาร์ทโฟนทำงานแทนคอมพิวเตอร์
    • คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
    • พังผืดที่เกิดจากการผ่าตัด
    • ช่างไม้ เป็นต้น

ลักษณะของอาการเอ็นข้อมืออักเสบ
เริ่มแรก ตรงบริเวณข้อมือมีรอยช้ำ ปวดระบม จากบริเวณข้อมือไปถึงโคนนิ้วโป้ง ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาการเจ็บปวดจะเพิ่มขึ้นและจะลามไปถึงปลายแขนตรงใกล้ข้อมือและนิ้วโป้ง จะทำให้การหยิบจับสิ่งของเกิดอาการเจ็บปวดมากขึ้น และตรงบริเวณข้อมือจะบวมแดงมาก ไม่สามารถสัมผัสได้ ต้องใช้เวลาในการพักฟื้นนานมากขึ้น อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ

    • ตรงข้อมือจะบวม และแดงจะรู้สึกอุ่น ๆ
    • ยกของไม่ได้จะเกิดการปวดอย่างรุนแรงตรงข้อมือ
    • การเสื่อมสภาพเพราะอายุมากขึ้น
    • เจ็บเมื่อกดตรงข้อมือ
    • กำมือไม่ได้ หากมีการขยับนิ้วมือจะเกิดอารเจ็บขึ้นมา

หากใครที่กำลังมีอาการดังกล่าว ควรจะรีบรักษา ถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เส้นเอ็นอักเสบเรื้อรังอย่างเรุนแรง และมีอาการแย่ลงได้

การรักษาอาการเอ็นข้อมืออักเสบเบื้องต้น
ผู้มีอาการเอ็นข้อมืออักเสบไม่มาก อาจทานยาแก้ปวด หรือยาคลายเส้นเพื่อบรรเทาอาการปวดในเบื้องต้นได้ ดังนี้

    • ให้หลีกเลี่ยงหรืองดกิจกรรมที่ต้องใช้งานข้อมือข้างที่กำลังมีอาการปวด
    • ประคบร้อนและใช้ผ้าพันแผลพันบริเวณรอบๆที่ปวดบวม เพื่อกันการกระทบกระเทือนบริเวณที่ปวดบวม และห้ามพันผ้าพันแผลแน่นจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก แล้วยังเป็นการไปเพิ่มความเจ็บปวดให้ข้อมืออีก
    • ทานยาแก้ปวด หรือยาแก้อักเสบ ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (แต่ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของเภสัชกรด้วย)
    • ห้ามบิดหรือหมุนข้อมือ แต่ควรให้ข้อมืออยู่ในแนวระนาบเดียวกันกับแขน
    • ถ้าปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นยังไม่หาย ควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไวนานอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนได้

วิธีการรักษาอาการเอ็นข้อมืออักเสบทางการแพทย์
การรักษาทางการแพทย์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่อาการและดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา ซึ่งการรักษาก็จะมีหลายวิธี ดังนี้

    • ทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวดและบวม
    • ใส่เฝือกแขนและนิ้วโป้งเพื่อช่วยพยุงข้อมือเอาไว้ ไม่ให้ใช้นิ้วโป้งมากไป
    • ห้ามยกของหนักเกินไป หากจะยกต้องใช้มือสองข้างยกเพื่อผ่อนน้ำหนักจากมือข้างใดข้างหนึ่ง
    • ฉีดยาแก้อักเสบ เพื่อทำให้หายเร็วขึ้นใช้เวลาแค่ 2-3วัน อาการปวด บวม อักเสบก็จะหายไป
    • และหากทำทุกวิธีที่กล่าวมาแล้วยังไม่หาย แพทย์ต้องทำการผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีสุดท้ายที่หายเร็วที่สุด

การป้องกันเอ็นข้อมืออักเสบไม่ให้เกิดภาวะเอ็นข้อมืออักเสบ
การอักเสบตรงบริเวณเอ็นข้อมือส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการใช้งานข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้บาดเจ็บของเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือ อย่างเช่น การยกของที่มีน้ำหนักมาก, การอุ้มเด็กทารก, การทำสวน หรือการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่หยุดพักและนอกจากนี้ การเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงแขนและข้อมือ อย่างเทนนิส, แบดมินตัน หรือกอล์ฟ ที่เล่นติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะเป็นอันตรายต่อเอ็นข้อมือได้เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรจะปรับเปลี่ยนการใช้งานข้อมืออย่างเหมาะสม และระมัดระวัง บางครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยพยุงข้อมือ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดเอ็นข้อมืออักเสบได้ เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

    • ลดการทำกิจกรรมที่ใช้งานข้อมือบ่อยๆ เช่น งานบ้าน ก็ทำให้น้อยลง และรวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ
    • ถ้าจำเป็นที่จะต้องยกของหนัก ควรขอความช่วยเหลือจากคนอื่น