fbpx

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่?

รับประทานสัตว์ปีกเยอะเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเก๊าท์หรือไม่

        เรามักจะได้รับข้อมูลอยู่บ่อย ๆ ว่า การรับประทานเนื้อสัตว์ปีก เช่นเนื้อไก่มาก ๆ จะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ ข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เป็นอย่างไร มาติดตามกันจากบทความนี้

        เนื้อไก่ เป็นอาหารที่มีไขมันน้อย และเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ไม่ใช่สำหรับผู้ที่เป็นโรคเก๊าท์ หรือผู้ที่มีระดับกรดยูริคในร่างกายสูงเกินไป คนกลุ่มนี้จะต้องระมัดระวังในการเลือกอาหารมารับประทาน ต้องทราบว่าอาหารชนิดใดรับประทานได้ในปริมาณมากน้อยแค่ไหน เมื่อจะรับประทานจะต้องเตรียมอย่างไร และแน่นอนว่า เนื้อไก่ ก็เป็นอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องระมัดระวัง

        หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นโรคเก๊าท์ การรับประทานเนื้อไก่ ต้องเป็นไปด้วยความระมัดระวัง เพราะเนื้อไก่เป็นอาหารที่มีประมาณของพิวรีนสูง พิวรีนนี้เป็นสารที่พบในเซลของร่างกายเรา และยังพบในอาหารอีกหลายชนิด โดยเฉพาะในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่เติบโตเร็วอย่าง ไก่ ปลา และสัตว์ตัวเล็ก รวมทั้งพืชที่กำลังเติบโต
แม้ว่าสารพิวรีน จะมีประโยชน์ต่อร่างกายของคนทั่วๆไป แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์แล้ว พิวรีนทำให้โรคกำเริบ มีการวิจัยพบว่า การที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์บริโภคพิวรีนมากเกินไป จะไปเพิ่มระดับของกรดยูริคในร่างกาย เมื่อกรดยูริคสูงจะเกิดการจับตัวกันเป็นผลึกเกาะติดตามข้อต่อของร่างกาย โดยเฉพาะในส่วนของข้อต่อเล็ก อย่างนิ้วมือ นิ้วเท้า เมื่อเกิดการจับตัวเช่นนั้น ผู้ป่วยจะเจ็บปวด หากเป็นมาก ๆ อาจจะถึงขั้นพิการได้

        อย่างไรก็ตาม นักโภชนาการบอกว่า เนื้อไก่เป็นอาหารที่มีประโยชน์มาก มีโซเดียมต่ำ ไข่มันต่ำ ปราศจากน้ำตาล และให้โปรตีน สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีปัญหาเรื่องระบบการเผาผลาญอาหารของร่างกาย เนื้อไก่ ถือว่ามีประโยชน์มาก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการจะควบคุมน้ำหนัก ลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจากการรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทอื่นที่ให้โปรตีนแต่มีไขมันสูง แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์นั้น การรับประทานเนื้อไก่จะปลอดภัยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับการจำกัดปริมาณของพิวรีน

        สำหรับการรับประทานเนื้อไก่ สำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์นั้น มีสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้ เนื้อไก่ในแต่ละส่วน จะมีปริมาณของพิวรีนที่แตกต่างกันไป ส่วนที่มีพิวรีนต่ำ ได้แก่เนื้อสะโพก ส่วนอก ปีก และน่อง ที่ปราศจากหนัง มีพิวรีนในระดับปานกลาง ตับและเครื่องใน เป็นส่วนที่มีพิวรีนสูง

        ผู้ป่วยโรคเก๊าต์ ควรจะจำกัดการรับประทานพิวรีน ในประเทศญี่ปุ่น เคยมีคำแนะนำผู้ป่วยโรคเกีาท์ ให้ลดการบริโภคพิวรีน ไม่ให้เกินวันละ 400 มิลลิกรัม ส่วนในสหรัฐอเมริกาแนะนำว่า อาหารที่มีพิวรีนสูง จะมีปริมาณพิวรีน 150-1000 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม ผู้ป่วยโรคเกีาท์จึงควรจะหลีกเลี่ยง

        ผู้ป่วยโรคเก๊าท์จึงสามารถเลือกรับประทานเนื้อไก่ ในส่วนที่มีพิวรีนต่ำได้ และควรจะนำส่วนที่เป็นหนังออก วิธีการปรุงก็มีความสำคัญเช่นกัน การปรุงสุกสามารถลดพิวรีนได้ ไม่ว่าจะเป็นการต้ม หรือการอบ เพราะพิวรีนที่อยู่ในเนื้อไก่ จะถูกกำจัดออกมาจากน้ำและไขมันที่ไหลออกมาจากเนื้อไก่นั้น ส่วนการทอด และการย่าง ไม่ได้ช่วยกำจัดพิวรีนมากนัก เพราะเนื้อไก่ยังมีความชุ่มชื้นอยู่ ในขณะที่การนำมาปรุงเป็นสูตว์ แม้จะเป็นการต้ม แต่พิวรีนที่ไหลออกมาจากเนื้อไก่ ก็ยังอยู่ในน้ำสต๊อกที่เรารับประทานเข้าไปด้วยอยู่ดี

        นอกเหนือจากเนื้อไก่แล้ว ยังมีอาหารอื่นที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรลดปริมาณการบริโภค ได้แก่ แอลกอฮอล์ อาหารที่มีไขมันสูง และไขมันสัตว์ up to 60% on Adobe