fbpx

ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบเกิดจากอะไร ?

​​ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

           ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ เป็นลักษณะอาการที่เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือ ทำให้มีอาการปวด และบวม พบได้กับคนที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือบ่อยๆ เกิดจาการใช้งานข้อมือมากเกินไป หรือบางคนพบว่าเคยมีการบาดเจ็บตรงบริเวณนี้มาก่อน เช่น คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ และเมาส์ทำงานเป็นเวลานาน ๆ  คนทำความสะอาดบ้าน หรือนักกีฬาประเภท ปิงปอง แบดมินตัน หรือวอลเลย์บอล เป็นต้น โรคนี้ส่วนมากจะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงต้องใช้ข้อมือในการอุ้มลูกหรือถือของใช้

กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดปลอกหุ้มเอ็นอักเสบได้มากที่สุด คือ กลุ่มทำงานกับคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน,คนทำงานบ้าน, งานช่าง , งานทำสวนปลูกต้นไม้,ยกของหนัก และอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป เป็นต้น ทั้งนี้เราสามารถรักษาเองเบื้องต้นได้ หรือท่านที่กำลังเป็นโรคปลอกหุ้มเอ็นอักเสบอยู่แต่ไม่ทราบวิธีการดูแลรักษาอาการเบื้องต้น

สาเหตุการเกิดปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการทำงานโดยที่ใช้งานบริเวณนิ้วหัวแม่มือในท่าเหยียดนิ้วเป้นเวลานาน และบ่อยมากเกินไป รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น ซึ่งการตรวจของแพทย์จะวินิจฉัยจากบริเวณที่มีอาการปวด โดยการกางนิ้วหัวแม่มือออกทางด้านข้างและกระดกขึ้น, ใช้ข้อมือหนัก หรือ ในบางคนพบว่าเคยมีการบาดเจ็บที่บริเวณนี้มาก่อน จนทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังตามสภาพ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ดังนี้

    • การใช้งานบ่อยเกินไป เช่นซักผ้า บิดผ้า อุบัติเหตุ เป็นต้น
    • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
    • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
    • พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือเม้าส์ เป็นเวลานาน
    • กีฬาประเภทแบดมินตัน, เทนนิส ,วอลเลย์บอล, ปิงปอง เป็นต้น

ลักษณะของอาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ               

ผู้ป่วยมักจะมีอาการปวดบวมตรงบริเวณข้อมือและโคนนิ้วโป้ง อาการจะค่อย ๆ ปวดมากขึ้นเรื่อยถ้าหากมีการหยิบหรือขยับข้อมือและนิ้วโป้ง การขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือจะลำบากมากโดยเฉพาะเวลาที่เรากำมือหรือหยิบสิ่งของ เวลากวาดบ้าน ยกของ งอนิ้วโป้ง ดังนี้

    • ตรงบริเวณที่ปลอกเอ็นอักเสบจะปวด-บวม-แดง และร้อน
    • อาการปวดอาจจะร้าวไปถึงข้อศอก
    • ชาด้านหลังนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้
    • ไม่สามารถกำหรืองอข้อมือได้
    • ขยับนิ้วโป้งหรือข้อมือลำบากโดยเฉพาะเวลากำมือหรือหยิบสิ่งของจะปวดมาก

หากพบว่ามีอาการหรือลักษณะดังกล่าว รุนแรงหรือปวดเรื้อรังไม่หาย ถึงแม้จะซื้อยามาทานเองก็ตาม ควรรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษา เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจจะทำให้ปลอกหุ้มเอ็นอักเสบเรื้อรังยากต่อการรักษาให้หายได้

การรักษาปลอกหุ้มเอ็นอักเสบเบื้องต้น

           ผู้ที่มีอาการปลอกหุ้มเอ็นอักเสบเพียงเล็กน้อยและเกิดจากสาเหตุที่ไม่รุนแรง อาจบรรเทาอาการปวดด้วยการเบื้องต้น ดังนี้

    • งดทำกิจกรรมที่ต้องใช้งานบริเวณที่มีอาการปวด
    • หากเกิดการบาดเจ็บฉับพลัน ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบทันที ต้องทำทุก 3-4 ชั่วโมง จนพ้น 48 ชั่วโมง
    • ใช้น้ำอุ่นมากๆ ประคบเพื่อลดอาการบวม
    • ทานยาต้านอักเสบที่มีส่วนของผสมสตีรอยด์
    • ทาด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง และนวดเบาๆ ใช้ผ้าพันแผลชนิด ยืดพันให้พอแน่น
    • เมื่ออาการปวดทุเลาลงแล้ว ค่อยๆเคลื่อนไหวโดยการยืดบริเวณที่มีอาการปวดเบา ๆ ช้า ๆก็ช่วยได้ ถือว่าเป็นการทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง
    • ถ้าหากผ่านไปหนึ่งอาทิตย์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่ควรปล่อยไว้นานอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

วิธีการรักษาปลอกหุ้มเอ็นอักเสบทางการแพทย์    

ทั้งนี้การรักษาทางการแพทย์ก็จะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับอาการของแต่คน และดุลพินิจของแพทย์ที่รักษา เช่น  ให้ยามาทานประมาณหนึ่งอาทิตย์อาการยังไม่หายแพทย์อาจให้ยาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยลดอาการปวดและการบาดเจ็บ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นอีก แพทย์

    • คนที่เกิดการบาดเจ็บฉับพลันให้ใช้น้ำแข็งหรือน้ำเย็นประคบทันที ให้ทำซ้ำทุก 3-4 ชั่วโมง และภายใน 48 ชั่วโมง แล้วหลังจากนั้นค่อยประคบด้วยน้ำอุ่น ผู้ป่วยควรหยุดพักการใช้ข้อที่ปวด ประคบด้วยน้ำอุ่นจัดๆ – ทานยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ เพื่อลดอาการปวดและบวม
    • ทาด้วยขี้ผึ้งน้ำมันระกำหรือยาหม่อง และนวดเบาๆ ใช้ผ้าพันแผลชนิด ยืดพันให้พอแน่น
    • ห้ามยกของหนักเกินไป หากจะยกต้องใช้มือสองข้างยกเพื่อผ่อนน้ำหนักจากมือข้างใดข้างหนึ่ง
    • ฉีดยาแก้อักเสบ เพื่อทำให้หายเร็วขึ้นใช้เวลาแค่ 2-3วัน อาการปวด บวม อักเสบก็จะหายไป
    • และหากทำทุกวิธีที่กล่าวมาแล้วยังไม่หาย แพทย์ต้องทำการผ่าตัดถือว่าเป็นวิธีสุดท้ายที่หายเร็วที่สุด

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะปลอกหุ้มเอ็นอักเสบ

การอักเสบตรงบริเวณปลอกหุ้มเอ็นส่วนใหญ่ที่พบเกิดจากการใช้งานข้อมืออย่างหนักซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการทำให้บาดเจ็บของเส้นเอ็นตรงบริเวณข้อมือ อย่างเช่น การยกของที่มีน้ำหนักมาก, การอุ้มเด็กทารก, การทำสวน หรือการทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่หยุดพักและนอกจากนี้ การเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงแขนและข้อมือ อย่างเทนนิส, แบดมินตัน  หรือกอล์ฟ ที่เล่นติดต่อกันเป็นเวลานานก็อาจจะเป็นอันตรายต่อเอ็นข้อมือได้เหมือนกัน ดังนั้น จึงควรจะปรับเปลี่ยนการใช้งานข้อมืออย่างเหมาะสม และระมัดระวัง บางครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์เพื่อช่วยพยุงข้อมือ ก็จะสามารถช่วยป้องกันการเกิดปลอกหุ้มเอ็นอักเสบได้  เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการปฏิบัติตามวิธีดังต่อไปนี้

    • ลดการทำกิจกรรมที่ใช้งานข้อมือบ่อยๆ เช่น งานบ้าน ก็ทำให้น้อยลง และรวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ
    • ถ้าจำเป็นที่จะต้องยกของหนัก ควรขอความช่วยเหลือจากคนอื่น