ไหล่ติด

       ปัญหาไหล่ติดเป็นอีกหนึ่งอาการที่สร้างอุปสรรค์ในการใช้ชีวิตให้กับเราไม่น้อยเพราะไหล่เป็นอวัยวะที่เคลื่อนไหวตลอดเวลา ตลอดทั้งวันที่เราทำงานหรือเรียนหนังสือ หัวไหล่ เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ตลอดทั้งวันเมื่อเกิดปัญหาขึ้นกับหัวไหลาจึงทำให้กระทบชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างมาก ซึ่งภาวะไหล่ติดสามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้งานหนักหรือประสบอุบัติเหตุ รวมทั้งเป็นผลพ่วงของโรคเรื้อรังหลายๆ โรค โดยอาการของไหล่ติดนั้นเมื่อเป็นแล้วจะไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างถนัด ยกของไม่ได้ ซึ่งโรคนี้เป็นได้ทั้งหญิงและชายในทุกๆ วัย ไม่ใช้เฉพาะวัยผู้สูงอายุเท่านั้น

ลักษณะของไหล่ติด
       ไหล่ติด เป็นภาวะของข้อต่อบริเวณไหล่ติด เกิดอาการเจ็บปวดหรือปวดตอนที่เคลื่อนไหว ขยับหัวไหล่ได้ โดยลักษณะของหัวไหล่นั้นมีข้อต่อลูกกลมและเบ้า มีเยื่อหุ้มข้อไหล่ยึดกระดูกทั้ง 3 ส่วน นั่นคือ กระดูกต้นแขน กระดูกสะบัก และ กระดูกไหปลาร้าเข้าด้วยกันและมีน้ำไขข้อช่วยให้การเคลื่อนไหวทำได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ถ้าเยื้อหุ้มไขข้อไหล่เกิดบวมและ หนาขึ้นก็จะทำให้เกิดปัญหาไหล่ติดตามมานั่นเอง 
 
สาเหตุของไหล่ติด
       สาเหตุของอาการไหล่ติดนี้มีหลายสาเหตุ แต่มักจะเกิดจากเนื้อเยื่อที่อยู่รอบๆ หัวไหล่เกิดการอักเสบ ติดขัด แล้วยังสามารถสร้างแถบเนื้อเยื่อที่ผิดปกติขึ้นมาได้จนทำให้มีอาการติดขัดอยู่ภายใน รวมทั้งคนที่ผ่านการผ่าตัด เกิดอุบัติเหตุ หรือคนที่มีโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน โรคหัวใจ หลอดเลือดในสมอง โรคปอด ต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน มะเร็งเต้านม การหดรั้งของแผ่นเอ็นฝ่ามือ ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงมีอาการไหล่ติดได้มากกว่าคนปกติ นอกจากนี้กรณีที่ไม่ได้เคลื่อนไหวหัวไหล่นานๆ อาทิ คนที่บาดเจ็บ หรือกำลังพักฟื้นร่างกายหลังการผ่าตัดแขนก็สามารถมีอาการไหล่ติดได้เช่นกัน 
 
อาการไหล่ติด
       สำหรับอาการของโรคไหล่ติดนี้จะมีอยู่ 3 ระยะ ซึ่งในระยะแรกจะมีอาการมากที่สุด จากนั้นจะค่อยๆ ทุเลาลงจนหายไปได้เอง แต่กินเวลานานและมีอาการเจ็บสะสมขึ้นเรื่อยๆ โดยมีอาการดังต่อไปนี้ 
 
       ระยะที่ 1 มีอาการปวดและค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น โดยจะรู้สึกได้มากในตอนกลางคืนเวลาที่เรานอนทับแขนและจะเริ่มปวดมากขึ้นจนขยับหัวไหล่ได้น้อยลงหรือในบางรายที่เป็นมากๆ จะไม่สามารถขยับหัวไหล่ได้ อาการปวดจะยังรู้สึกอยู่แม้ว่าจะไม่ได้ขยับหัวไหล่ โดยสามารถเจ็บได้นาน 2-9 เดือน
 
       ระยะที่ 2 อาการปวดจะค่อยๆ น้อยลง แต่ขยับหัวไหล่ได้ยากขึ้นหรือแทบจะขยับไม่ได้ จนทำให้เกิดอาการข้อยึด กล้ามเนื้อเสื่อมจากที่ไม่ได้ถูกใช้งาน ระยะนี้จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันเป็นอย่างมากและสามารถเป็นได้นาน 4-12 เดือนเลยทีเดียว
 
       ระยะที่ 3 เป็นระยะฟื้นตัวที่อาการปวดและข้อยึดจะค่อยๆ ดีขึ้น จนกระทั้งหลายในที่สุด ในบางรายสามารถกลับมาใช้งานได้ปกติ แต่ในบางรายก็ยังมีอาการอยู่เล็กน้อย โดยระยะนี้มักจะมีอาการนานประมาณ 1-3 ปี
จะเห็นได้ว่าอาการไหล่ติดสามารถหายได้เองได้ แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 ปี ซึ่งจะรบกวนการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ดังนั้นหากพบว่ามีอาการดังกล่าวจึงต้องรีบพบแพทย์ไม่ควรปล่อยให้หายเอง
 
การรักษาไหล่ติด
       อาการไหล่ติดแม้จะสามารถหายได้เอง แต่ในระยะแรกที่มีอาการเจ็บส่วนใหญ่คนไข้จะไม่สามารถทนความเจ็บปวด เพราะใช้ชีวิตประจำวันลำบาก ส่วนใหญ่แล้วถ้าเป็นจึงรีบพบแพทย์ทันที ซึ่งแพทย์จะรักษาด้วยการใช้ยาแก้ปวด, ฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์และใช้ยาลดอาการบวมอักเสบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวดบวมได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นจะแนะนำให้คนไข้ทำกายภาพบำบัด นวดบำบัด เป็นต้น แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์จะรักษาด้วยการผ่าตัดและจัดกระดูกให้เข้าที่
 
การป้องกันอาการไหล่ติด
       เพราะอาการไหล่ติดเกิดขึ้นได้ในผู้ที่มีโรคประจำตัวหลายๆ โรค รวมทั้งการเกิดอุบัติเหตุและการผ่าตัด ซึ่งจะเห็นได้ว่าหลายคนหลีกเลี่ยงอาการไหล่ติดได้ยาก เพราะเป็นหนึ่งในอาการของโรคเรื้อรังที่สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นการป้องกันโรคไหล่ติดจึงสามารถทำได้ด้วยการทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อโรคที่กำลังเผชิญ ออกกำลังกายอย่างพอดีและถูกต้องตามลักษณะอาการของโรค เรียนรู้ท่ากายบริหารที่ช่วยชะลออาการไหล่ติด ซึ่งท่ากายบริหารบริเวณหัวไหล่สามารถทำได้ง่ายๆ ระหว่างที่ทำงาน หรือที่บ้าน นอกจากนี้ในกรณีที่เริ่มมีอาการไหล่ติดให้รีบพบแพทย์โดยทันทีเพื่อบรรเทาอาการและช่วยให้หายได้เร็วขึ้น
 
       ไหล่ติด จึงเป็นหนึ่งในอาการที่กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก อาการปวดและยกแขนไม่ได้จะทำให้ทำงานได้ลำบาก ช่วยเหลือตัวเองแทบไม่ได้ ซึ่งหากปล่อยอาการไหล่ติดให้เรื้อรังไม่เข้ารับการรักษาจะสามารถมีอาการปวดได้นาน 2-3 ปีเลยทีเดียว แม้ในที่สุดอาการจะสามารถหายไปเองได้ แต่ระหว่างที่รอให้อาการทุเลาลงซึ่งใช้เวลา 2-3 ปีนั้น คนไข้อาจต้องใช้ชีวิตลำบาก มีอาการแวดตลอดเวลา และกล้ามเนื้อแขนที่แทบไม่ได้ขยับเพราะอาการเจ็บอาจทำให้มีอาการกล้ามเนื้อเสื่อมลงได้อีก ดังนั้นอย่ารอที่จะไปพบแพทย์ช้าเกินไป หากพบว่ามีอาการปวดหัวไหล่แม้จะขยับหรือไม่ได้ขยับก่อนตามนานกว่า 1 เดือน ให้ไปพบแพทย์ได้ทันที เพื่อแก้ไข้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที