กล้ามเนื้อเป็นเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งที่อยู่ทั่วทั้งร่างกายของเรา ซึ่งอาการของ โรคกล้ามเนื้อ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายเลยทีเดียว โดยกล้ามเนื้อของเรานั้นมีหน้าบีบตัวและเคลื่อนไหวตามลักษณะการใช้งานของอวัยวะนั้นๆ ทำให้โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อจะพบได้บ่อย เพราะสามารถเกิดขึ้นได้จากทั้ง อุบัติเหตุ การใช้งานที่หนัก การเล่นกีฬา หรือความผิดปกติที่เกิดจากโรคภัยต่างๆ

ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อ

ลักษณะอาการของโรคกล้ามเนื้อ

        โรคกล้ามเนื้อเป็นอีกหนึ่งโรคใกล้ตัวที่สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย แม้กระทั้งในเด็กเพราะบางครั้งกล้ามเนื้อได้รับความบอกช้ำจากการเล่น หรือในหลายๆ อาชีพที่ใช้งานกล้ามเนื้อเดิมๆ ซ้ำๆ ตลอดทั้งวันก็อาจจะทำให้มีอาการโรคกล้ามเนื้อได้ โดยอาการที่สามารถพบได้บ่อยคือ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, เป็นตะคริว, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, กล้ามเนื้อหดยึดตัว, กล้ามเนื้อลีบฝ่อ, กล้ามเนื้อกระตุก จนไม่สามารถควบคุมได้, ชา, ปวดข้อ, มีก้อนเนื้อ, รวมทั้งยังสามารถมีไข้ได้อีกด้วย

 

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อ

        โรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อเกิดขึ้นได้จากหลายๆ สาเหตุ และยังสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด แต่จะพบมากในผู้สูงอายุตามระยะเวลาการใช้กล้ามเนื้อ โดยมีสาเหตุดังต่อไปนี้

    • การใช้งานกล้ามเนื้อที่หนักเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากทำงานซ้ำๆ ต่อเนื่อง หรือการยกของหนักผิดท่า การนั่งทำงานที่หน้าจอคอเป็นเวลานานๆ ด้วยท่านั่งที่ไม่ถูกสุขลักษณะ
    • การเล่นกีฬา เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเพราะหลายคนออกกำลังกายแบบหักโหมหรือไม่อบอุ่นร่างกาย และไม่มีความรู้ในการใช้อุปกรณ์
    • การอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ หรือการหกล้ม
    • เกิดจากผลแทรกซ้อนของโรคทางสมองและเส้นประสาท ไม่ว่าจะเป็น โรคหลอดเลือดสมอง, โรคเบาหวาน, โรคใบหน้าเบี้ยว, โรคของไขสันหลัง ฯลฯ ก็สามารถทำให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้
    • เกิดจากภูมิคุ้มกันต้านทางโรคบ่อพร่อง ซึ่งมักเป็นผลพ่วงมากจากโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคภูมิต้านทางตัวเอง, โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ขาดสารอาการ จนทำให้กล้ามเนื้อลีบฟ่อ หรือจากการติดเชื้ออักเสบ โรคมะเร็งกล้ามเนื้อและยังสามารถเกิดจาพันธุกรรมได้อีกด้วย

 

การรักษาโรคกล้ามเนื้อ

        แพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยที่มาของโรคด้วยการซักประวัติการทำงาน ครอบครัว และประวัติการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ แล้วทำการตรวจร่างกายเพื่อหาค่าความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำตาล, ค่าสารภูมิต้านทาน, ตรวจสภาพกล้ามเนื้อ, ตรวจเลือด หรือในบางอาการอาจต้องตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหาความผิดปกติ เมื่อได้สาเหตุการเกิดโรคแล้วแนวทางการรักษาส่วนใหญ่แพทย์จะรักษาตามอาการและดูจากสาเหตุ หากเกิดจาการทำงานต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของคนไข้ หรือหากเกิดจากการโรคต่างๆ ต้องรักษาแบบประคับประคองอาการด้วยการใช้ยาและการบำบัด ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคว่าเกิดจากอะไร หากเป็นผลพ่วงมาจากโรคอื่นๆ ต้องรักษาที่โรคต้นเหตุ

 

การป้องกันโรคกล้ามเนื้อ

      ในบางกรณีของโรคกล้ามเนื้อไม่สามารถป้องกันได้ 100 % เช่นอาการกล้ามเนื้อที่เกิดจากพันธุกรรมหรือการเป็นมะเร็ง แต่หากเป็นอาการที่เกิดขึ้นจากการทำงานหนัก การเล่นกีฬา สามารถป้องกันได้ดังนี้

    • ก่อนการออกกำลังกายหรือต้องใช้แรงหนัก ต้องอบอุ่นร่างกาย ยืดเส้นยืดให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวก่อน
    • การยกของต้องยกในท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อช่วยเซฟหมอนรองกระดูก
    • ผู้ที่ทำงานใช้กล้ามเนื้อซ้ำๆ ตลอดทั้งวัน ต้องแบ่งเวลาพักการใช้งานกล้มเนื้อเป็นระยะ หากต้องยืนเป็นเวลานานๆ ต้องเซฟกล้ามเนื้อต่างๆ ด้วยการใส่รองเท้าที่สบาย ไม่ใช่ส้นสูง หรือพนักงานที่ต้องนั่งทำงานตลอดทั้งวัน ควรหมั่นลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุกๆ 1 ชั่วโมง
    • ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยการนวดหลังการใช้งานหนักหรือรู้สึกเมื้อยล้า
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครบ 5 หมู่ในแต่ละมื้อ เพราะร่างกายและเซลล์ต่างๆ ในกล้ามเนื้อต้องการรักการซ่อมแซม อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่ายกายได้
    • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยเฉพาะก่อนและหลังการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสียเหงื่อไปมาก
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น แต่การออกกำลังกายไม่ควรทำท่าซ้ำ ใช้อุปกรณ์ซ้ำๆ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อบางส่วนใช้งานเยอะเกินไป ต้องเลือกการออกกำลังกายที่หลากหลายและได้ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย
    • ในกรณีที่เป็นเด็กเล็ก ผู้ปกครองต้องระวัดระวังในการปล่อยให้เล่นในอุปกรณ์ที่ต้องเสี่ยงต่อกล้ามเนื้อ หรือหากเกิดอาการบาดเจ็บควรต้องรีบพบแพทย์ อย่าปล่อยอาการไว้เจอเรื้อรัง
    • ในกรณีที่อาการของโรคกล้ามเนื้อเกิดขึ้นจากโรคต่างๆ ต้องรีบทำการรักษาและพบแพทย์ให้ตรงตามนัด เพื่อไม่ให้อาการลุกล่ามบานปลาย

 

โรคกล้ามเนื้อ เป็นอีกหนึ่งภัยเงียบที่แฝงอยู่รอบตัว แม้แต่ตอนเล่นกีฬา เวลาทำงาน หากขาดความระมัดระวังหรือหักโหมเกินไปก็สามารถส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อต่างๆ ทั่วร่างกายได้ ดังนั้นหากเริ่มมีอาการไม่ปกติของกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อย อ่อนแรง ต้องรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพราะหลายครั้งที่ต้นตอของโรคเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตใกล้ตัวที่ไม่ถูกต้องของคนไข้เอง ซึ่งหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมหลายคนก็สามารถหายจากอาการโรคกล้ามเนื้อได้