ออฟฟิศซินโดรม (office syndrome)

       เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งอาการที่เหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลายกำลังประสบพบเจอกันอยู่อย่างแน่นอน สำหรับ ออฟฟิศซินโดรม หรือกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อพังผืด ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่นั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือนั่งท่าเดิมซ้ำๆ ต่อเนื่องหลายชั่วโมงในแต่ละวัน และไม่ใช่เพียงแต่การนั่งทำงานอย่างเดียวในผู้ที่ยืน เดิน ทำงานในลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรือใส่ร้องเท้าส้นสูงก็จะเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน

ลักษณะของโรคออฟฟิศซินโดรม


       ออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นได้บ่อยในวัยทำงานที่ต้องนั่งท่าเดิมเป็นเวลาต่อเนื่องหลายชั่วโมง ซึ่งนอกจากการนั่งผิดท่าเป็นเวลานานๆ แล้ว ความเครียด การทำงานหนักเกินไป การทานอาหารไม่ตรงเวลา การไม่ออกกำลังกาย ก็ล้วนแล้วแต่เป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย ซึ่งเมื่อมีอาการแล้วมักจะทำให้ระบบกระดูกและระบบอื่นๆ ในร่างกายมีปัญหาไปด้วย จนทำให้มีอาการปวดขึ้นได้

 

สาเหตุของโรคออฟฟิศซินโดรม
       สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการออฟฟิศซินโดรมคือพฤติกรรมการนั่ง เดิน ยืน ทำงานของแต่ละคน หลายคนอุปกรณ์ในการทำงานไม่เหมาะสม อาทิ เก้าอี้สูงหรือต่ำเกินไป , นั่งไขว่ห้าง, นั่งไม่เต็มก้น, นั่งหลังงอ, ยืนแอ่น, ยืนหลังคอม, สะพายกระเป๋าหนัก นอกจากนี้ในผู้ที่มีอาการเครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ ทานอาหารไม่ตรงเวลา ขาดสารอาหารบางประเภท ก็สามารถทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน

 

อาการออฟฟิศซินโดรม


       อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่จะรู้สึกปวดได้หลายๆ ส่วนในร่ายกาย ไม่ว่าจะเป็น บ่า, คอ, ไหล่, สะบัก หรือสามารถปวดเป็นบริเวณวงกว้างๆ พร้อมกันหลายจุด จนในหลายๆ เคสไม่สามารถบอกได้ว่ามีอาการปวดตรงไหนบ้าง นอกจากนี้อาการปวดยังสามารถลามไปยังอวัยวะอื่นได้ด้วย โดยลักษณะการปวดจะมีตั้งแต่น้อยไปจะกระทั้งปวดมาก แต่ส่วนใหญ่อาการปวดจะไม่มาก แต่เป็นอยู่ตลอดทั้งวัน ซึ่งรบกวนชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แต่ในบางรายที่มีการกดทับเส้นประสาทส่งสงผลให้มีอาการชาที่บริเวณมือและแขนร่วมด้วย หากปล่อยให้มีการกดทับที่เส้นประสาทนานเกินไปจะทำให้มีอาการแขนอ่อนแรงเลยทีเดียว

 

การรักษาอาการออฟฟิศซินโดรม


       วิธีการรักษาอาการออฟฟิตซินโดรมจะเริ่มจากการบรรเทาอากรด้วยการรับประทานายา การฉีดยา ซึ่งอาจจะทุเลาลงได้แต่จะไม่ได้หายขาด อาการจะกลับมาเป็นได้อีกหายยังนั่งหรือยืนในท่าที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม ดังนั้นหากอยากให้อาการดีขึ้นและมีโอกาสหายขาดได้ควรปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม ทำกายภาพบำบัดเพื่อยืดกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดอยู่เป็นประจำ นอกจากนี้ยังมีการรักษาทางเลือกอาทิ การฝังเข็ม, การนวดแผนไทย, การกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็ก เป็นต้น

 

การป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม


       1. ปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ถูกต้องเหมาะสม อาทิ โต๊ะทำงานไม่สูงหรือต่ำเกินไป เมื่อใช้มือจับเม้าท์ข้อมือควรวางอยู่บนเก้าอี้ด้วย อยากให้โต๊ะสูงหรือเก้าอี้ต่ำเกินไป
       2. การนั่งหรือเดิน ปรับบุคลิกภาพให้หลังตรง อย่าห่อไหล่ อย่าเดินหรือนั่งหลังค่อม โดยเฉพาะการนั่งทำงานติดต่อกันหลายชั่วโมง อย่านั่งหลังงอโดยเด็ดขาดต้องปรับเปลี่ยนท่านั่งให้ถูกต้อง
       3. อย่านั่งไขว่ห้าง, นั่งขัดสมาธิ หรือใส่รองเท้าส้นสูงยืนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หากจำเป็นต้องทำให้พักขา พักหัวเข่าด้วยการลุกขึ้นเดินเป็นประจำ
       4. หากทำงานโดยต้องก้มหยิบของ หันซ้ายขวาอยู่บ่อยๆ ควรจัดวางสิ่งของที่ต้องหยิบไว้ในจุดที่ง่ายต่อการหยิบ ไม่ควรก้มตัวขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา โดยเฉพาะเมื่อเป็นของที่มีน้ำหนัก การยกของต้องพยายามทำหลังให้ตรงมากที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดปัญหากระดูกเคลื่อน
       5. ระหว่างทำงานหากมีอาการปวดเมื่อย ควรเปลี่ยนอิริยาบถด้วยการลุกไปห้องน้ำเพื่อยืดเส้นยืดสาย อย่านั่งแช่นานๆ และอย่าฝืนร่างกายจนเกิดไป
       6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและระวังเรื่องความเครียด เพราะหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีอาการออฟฟิศซินโดรมที่สำคัญก็คือความเครียดนั้นเอง
       7. อย่าสะพายกระเป๋าหนักด้วยบ่าข้างเดียว หากจำเป็นต้องถือของหนักให้ใช้ด้วยช่วยเป็นรถเข็น แต่อย่าใช้บ่าข้างเดียวสะพานกระเป๋าหนักเด็ดขาด
       8. รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคออฟฟิศซินโดรมและยังมีผลต่อส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย
       9. หากพบว่ามีอาการปวดหลังหรือบริเวณต่างๆ ให้ไปพบแพทย์ทันที อย่าละเลยจนมีอาการหนักแขนขาชา เพราะอาจจะทำให้มีการรักษาที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น

       อาการออฟฟิศซินโดรมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะวัยทำงานที่ต้องนั่งในรูปแบบเดิมๆ ตลอดทั้งวัน ซึ่งควรฝึกฝนการนั่งให้ถูกสุขลักษณะ หลังตรง ไม่นั่งงอเข่า ทำทุกวันให้เกิดความเคยชิน หากนั่งท่าผิดหลังงอสะสมหลายปีแม้แต่ในวัยรุ่นก็เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ควรสังเกตและปรับเปลี่ยนท่านั่งในการทำงานหรือในการนั่งเรียน หากเห็นว่าสิ่งแวดล้อมอาทิ โต๊ะทำงาน โต๊ะเรียน ไม่เหมาะสมให้รีบปรับเปลี่ยนก่อนที่จะสายเกินไป